ปัญหาการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Authors

  • ธวัช วิวัฒนปฐพี

Keywords:

การจัดการเรียนการสอน, สาขาวิชาดนตรี, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Abstract

ดนตรีเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีสําคัญต่อชีวิตมนุษย์ในการแสดงออกทางอารมณ์ ไม่ ว่าจะเป็นการแสดงความสุข ความทุกข์ หรือความสําเร็จ จนบางครั้งกลายเป็นสัญลักษณ์ใน พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ เช่น พิธีบวงสรวงเทพยดา อารักษ์ หรือรักษาอาการเจ็บป่วยทั้งทางกาย และทางจิตโดยใช้ดนตรีเป็นสื่อในขณะเดียวกันดนตรียังมุ่งเน้นพัฒนาคนให้มีคุณภาพสติปัญญา อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด อาจกล่าวได้ว่าดนตรีเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ที่รับใช้สังคม รวมทั้ง พัฒนาผู้เรียนให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กล้าแสดงออกโดยใช้ดนตรีเป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียน ตอบสนองพฤติกรรม นอกจากนี้ดนตรียังช่วยพัฒนาด้านร่างกาย กล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหว ประกอบจังหวะ และอวัยวะส่วนอื่นๆ ทั้งยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความรู้ความสามารถของตนเอง เนื่องจากแก่นแท้ของการเรียนดนตรีอยู่ที่การฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง แม้มีข้อมูลความรู้มากก็ มิใช่เครื่องชี้วัดความสําเร็จของการเรียนดนตรี หากไม่ฝึกฝนตนเองให้เกิดการพัฒนา ก็ย่อม ประสบความล้มเหลวในการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร มีผล ทําให้บทบาทของอาจารย์และผู้เรียนต้องเด่นชัดขึ้นมา เพราะพลังความรู้ สามารถเปลี่ยนแปลง ชีวิตคนได้ ทั้งอาจารย์ผู้สอนและผู้เรียนจึงต้องเรียนรู้พัฒนาตนเองไปพร้อมๆ กัน ผู้เรียนอาจ เข้าถึงข้อมูลความรู้ได้มากกว่าผู้สอน และอาจเก่งกว่าผู้สอนก็เป็นได้ หากได้รับการฝึกฝนตนเอง เป็นอย่างดี ดังนั้นบทความนี้จึงมุ่งศึกษาสภาพทั่วไปของการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาดนตรี เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเพราะเป็นการศึกษารอบด้าน ทั้งด้านบริบทแวดล้อม ปัจจัยเบื้อง ต้น และด้านผลผลิต ผลการศึกษาจะทําให้ทราบว่า จะจัดการเรียนรู้และบริหารจัดการเรียนรู้ ดนตรีอย่างไรจึงถือว่าผู้เรียนประสบผลสําเร็จ และได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ นอกจากนั้นจัดการเรียนรู้อย่างไรจึงจะเสริมสร้างการฝึกทักษะเพื่อเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์องค์ความรู้มาใช้เพื่อปรับปรุงและแก้ไขปัญหา ซึ่งผู้สอนต้องสามารถใช้การวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนการสอน แสดงให้เห็นว่าทั้งอาจารย์ผู้สอนและผู้ เรียนเป็นตัวแปรสําคัญที่สามารถทํานายคุณภาพของผู้เรียนดนตรีได้

References

1. ณรุทธิ์ สุทธจิตต์, พฤติกรรมการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538.
2. ธลน์ สุทธิพงศ์. การศึกษาพฤติกรรมความสนใจของผู้เรียนดนตรีในโรงเรียนเอกชน, ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545.
3. บุณยกาญจ์ โสภาภาร. สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาดนตรีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2543.
4. ปิยพันธ์ แสนทวีสุข. การสร้างคู่มือการสอนปฏิบัติการดนตรีสากลระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2540.
5. เปรื่อง กุมุท. “อุปกรณ์การสอน: บูรณาการแห่งการสอน” ศูนย์ศึกษา. 16 (9-10); กันยายน - ตุลาคม, 2513.
6. มนตรี แย้มกสิการ. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง, 2534.
7. วิมลศรี อุปรมัย, ดนตรีในระบบการเรียนการสอน, กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครูสวนสุนันทา, 2525.
8. สุกรี เจริญสุข, ระบบนิ้วของเครื่องเป่า. กรุงเทพฯ: คุรุสภา, 2530 .

Downloads

Published

08.08.2018

How to Cite

วิวัฒนปฐพี ธวัช. 2018. “ปัญหาการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี”. Rangsit Music Journal 2 (1):25-31. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rmj/article/view/139097.

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article