การเรียนการสอนเปียโนในผู้สูงอายุ

Authors

  • ภาวไล ตันจันทร์พงศ์ Conservatory of Music, Rangsit University

Keywords:

Piano, Older Adults

Abstract

การเรียนการสอนเปียโนในผู้สูงอายุ (ผู้สูงอายุในบทความนี้หมายถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป) เนื่องจากวิทยาการที่ทันสมัยประกอบกับการแพทย์ที่เจริญในปัจจุบันทําให้มีผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรง มีอายุยืนยาว อีกทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามลําดับ ประกอบกับมีเวลาว่างมากกว่าช่วงวัยทํางาน จึงทําให้มีผู้สูงอายุจํานวนมากหันมาให้ความสนใจที่จะเรียนดนตรีมากกว่าในอดีต หนึ่งในเครื่องดนตรีที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษคือ เปียโน วัตถุประสงค์หลักของการเรียนเปียโนในผู้สูงอายุ คือ เพื่อความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เป็นโอกาสได้พบเจอเพื่อนฝูง อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือในการบําบัดอาการปวดตามข้อและนิ้วหรือที่เรียกว่า Arthritis ซึ่งพบในผู้สูงอายุบางคน จากบทความ Therapeutic Instrumental Music Playing in Hand Rehabilitation for Older Adults with Osteoarthritis จากวารสาร The Journal of Music Therapy (summer 2001) ของ Colleen M. Zelazny พิสูจน์ว่า การเล่นเปียโนสามารถบรรเทาอาการปวดตามข้อ และปวดนิ้วได้ จากการศึกษาผู้สูงอายุที่ปวดตามข้อและนิ้ว 4 คน โดยให้ทั้ง 4 คนเรียนเปียโน 4 ครั้ง ครั้งละ30 นาทีในหนึ่งสัปดาห์  โดยแต่ละครั้งที่เรียนจะต้องเล่นแบบฝึกหัด (Scales, Arpeggios) และบทเพลงในระดับเบื้องต้น ซึ่งบทเพลงที่ใช้นั้นล้วนแต่อยู่ในช่วงการวางนิ้วทั้ง 5 โดยที่ไม่ต้องเคลื่อนย้ายมือแต่อย่างใด (5 Fingers pattern) มีการใช้เครื่องมือวัดอัตราการปวดของนิ้ว 3 ช่วงคือ ก่อนการเล่นเปียโน ระหว่างการเล่น และหลังจากการเล่นเปียโน ผลที่ออกมาคือหลังจากการเล่นเปียโน เครื่องมือวัดการปวดของนิ้วบ่งชี้ว่า ทั้ง 4 คน มีอาการปวด และอาการขัดนิ้วลดลง มีการเคลื่อนไหวนิ้วได้ดีขึ้น และมีการที่พัฒนาที่ดีขึ้นตามลําดับในทุกครั้งที่เรียนเปียโน การเรียนเปียโนในผู้สูงอายุมักเป็นการตัดสินใจของตัวผู้เรียนเอง ซึ่งต่างจากเด็กเล็กในเด็กเล็กบางกรณีผู้ปกครอง ต้องการให้เด็กเรียนมากกว่าที่จะเป็นความต้องการของเด็กเอง ผู้สูงอายุบางคน เคยมีพื้นฐานความรู้ทางดนตรีมาก่อน บางคนเคย เรียนเปียโนมาแล้ว ในขณะที่บางคนไม่เคยมีความรู้ ทางดนตรีมาก่อนเลย ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่รับผิดชอบ ของครูผู้สอนในการเลือกใช้หนังสือที่เหมาะสมและ วิธีการสอนที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละคน วิธีการ ที่ดีกับนักเรียนคนหนึ่ง ก็ไม่ใช่ว่าจะใช้ได้ดีกับอีกคน หนึ่ง ในการสอนครูต้องเข้าใจบุคลิกลักษณะของ นักเรียนแต่ละคน รวมไปถึงปัญหาเฉพาะที่พบในผู้สูง อายุเป็นอย่างดี การเรียนการสอนจึงส่งผลสูงสุด

References

1. Bastien, J. The Older Beginner Piano Course Level I. San Diego, CA, Kjos West, 1977.
2. Fischer, C, L. "Piano Instruction and The Older Adult Beginner." M.A.Thesis, California State University, 1982.
3. Flowers, P. J. and Judith W. M. "Talking about Music: Interviews with Older Adults about Their Music Education, Preferences, Activities, and Reflections." Applications of Research in Music Education 20 (Fall/Winter 2001): 26-32.
4. Hilali, D. "Teaching Adult Students." Clavier33 (May/June 1994): 26. Jason, B. and Connie A. "New Horizons in Class Piano." Clavier 22 (November 1983): 26-27.
5. Landon, E. A. "Piano Workshop for SeniorCitizens." Clavier 20 (October 1981) :40.
6. Music Teachers National Association. "Music for Everyone...At Any Age." Music Teachers National Association Newsletter (Winter 2003): 1-2.
7. Pike, P. D. "Leisure Piano Lessons: A Case Study of Lifelong Learning." Ph.D. diss., University of Oklahoma, 2001.
8. Zelanzy, C. M. "Therapeutic Instrumental Music Playing in Hand Rehabilitation for Older Adults with Osteoarthritis: Four Case Studies." The Journal of Music Therapy 38 no. 2 (Summer 2001): 97-113.

Downloads

Published

08.08.2018

How to Cite

ตันจันทร์พงศ์ ภาวไล. 2018. “การเรียนการสอนเปียโนในผู้สูงอายุ”. Rangsit Music Journal 1 (2):23-26. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rmj/article/view/139114.

Issue

Section

บทความวิชาการ | Academic Article