การสร้างเครื่องมือการวัดและประเมินผลการปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า ในระดับอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • วรินธร สีเสียดงาม 0891593898
  • พรพรรณ แก่นอำพรพันธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุพัตรา วิไลลักษณ์ วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การวัดและการประเมินผล, การปฏิบัติดนตรีประเภทเครื่องเป่า

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการวัดและประเมินผลการปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าในระดับอุดมศึกษา  2) สร้างเครื่องมือการวัดและประเมินผลการปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าในระดับอุดมศึกษา และ 3) ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการวัดและประเมินผลการปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าในระดับอุดมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย           เป็นแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพที่ประยุกต์ใช้วิธีการวิจัยอนาคตแบบ EDFR และการวิจัยเชิงปริมาณ

          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการวัดและประเมินผลของรายวิชาการปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า โดยเฉลี่ยอาจารย์ผู้สอนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (M= 4.11,  S.D. = 0.87)        2) การสร้างเครื่องมือการวัดและประเมินผลการปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าประกอบด้วยองค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการปฏิบัติดนตรีประเภทเครื่องเป่า 5 ด้าน คือ จุดประสงค์การเรียนรู้ สถานการณ์ที่ใช้ในการวัดและประเมินผล เครื่องมือการวัดและประเมินผล วิธีการวัดและประเมินผล และรายละเอียดของการวัดและประเมินผลการปฏิบัติดนตรี ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวทำให้ได้เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผล 7 ชนิด ประกอบด้วย แบบสอบถามความคาดหวังของผู้เรียน แบบประเมินการปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า แบบสำรวจรายการปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า เกณฑ์และแบบประเมินการให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบ เกณฑ์และแบบประเมินการให้คะแนนแบบองค์รวม สมุดบันทึกของผู้เรียน แบบบันทึกการเรียน และทุกเครื่องมือมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ในการวัดและประเมินผลของรายวิชาการปฏิบัติเครื่องดนตรี 3) เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลมีความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง โดยผลการปฏิบัติเครื่องดนตรีระหว่างกลุ่มผู้เรียนที่มีทักษะการปฏิบัติดนตรีประเภทเครื่องเป่าสูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีทักษะการปฏิบัติดนตรีประเภทเครื่องเป่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้พบว่า ความเชื่อมั่นของผู้สอนวิชาการปฏิบัติเครื่องดนตรี มีค่าเท่ากับ 0.78 และมีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.83 แสดงว่าเครื่องมือมีความน่าเชื่อถือ และสามารถนำเครื่องมือนี้ไปใช้จริงได้

References

กรวิภา ฉินนานนท์. การพัฒนาแบบตรวจรายการประเมินโดยใช้ทฤษฎีเป็นฐานสำหรับประเมิน หลักสูตรสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและ ประเมินผลการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.
คณิตพันธุ์ ทองสืบสาย. การพัฒนาแบบวัดความฉลาดทางสังคมสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัดและประเมินผลการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
ครรชิต สุวภาคย์รังสี. การศึกษาสภาพการวัดและประเมินผลวิชาปฏิบัติกีตาร์ในสถาบันราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล, 2546.
จินดามาตร์ มีอาษา. แนวทางการวัดและประเมินผลวิชาทักษะปฏิบัติแซ็กโซโฟนคลาสสิกในระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ในหลักสูตรดนตรีของสถาบันอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559.
โชติกา ภาษีผล, ณัฏญภรณ์ หลาวทอง และกมลวรรณ ตังธนกานนท์. การวัดและประเมินผลการ เรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.
ปิยะพันธ์ แสนทวีสุข. ยุทธศาสตร์และการบริหารจัดการการศึกษาดนตรีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ฉบับที่พิเศษ 2552, (2552): 480-490.
Brian C. Wesdoski. Understanding and Developing Rubrics for Music Performance Assessment. Music Educators Journal 98, 3 (2012): 36-42.
Zhukov K. Challenging Approaches to Assessment of Instrumental Learning. Assessment in Music Education: from Policy to Practice. 16, (2015): 55-70.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22.01.2020

How to Cite

สีเสียดงาม วรินธร, แก่นอำพรพันธ์ พรพรรณ, และ วิไลลักษณ์ สุพัตรา. 2020. “การสร้างเครื่องมือการวัดและประเมินผลการปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า ในระดับอุดมศึกษา”. วารสารดนตรีรังสิต 15 (1):118-33. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rmj/article/view/203726.