การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามยุทธวิธีเมตาคอกนิชันเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักศึกษาครูภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 2
คำสำคัญ:
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, ยุทธวิธีเมตาคอกนิชันบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามยุทธวิธีเมตาคอกนิชันเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักศึกษาครูภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามยุทธวิธีเมตาคอกนิชันเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามยุทธวิธีเมตาคอกนิชันเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาครูภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยครูปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 30 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามยุทธวิธีเมตาคอกนิชันเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ จำนวน 6 ชุด 2) แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากตั้งแต่ 0.27-0.68 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.32-0.82 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา เป็นมาตราประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 25 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า
- ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามยุทธวิธีเมตาคอกนิชันมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.13/85.33
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามยุทธวิธีเมตาคอกนิชัน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- นักศึกษาที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามยุทธวิธีเมตาคอกนิชันมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
References
Kananan, K. (2008). A development of the instructional activities using metacognition strategies to enhance English reading comprehension ability, metacognition and attitude toward learning activities of Matthayomsuksa 3 Students (Master of education thesis, program in Curriculum and Instruction). Sakhon Nakhon Rajabhat University, Sakhon Nakhon. [in Thai].
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). วิธีสอนภาษาลาว 1 สายสร้างครูมัธยมศึกษาระบบ 3 ปี. เวียงจันทน์: ผู้แต่ง.
Ministry of Education. (2008). Lao Language Teaching Method 1 Secondary School System for
3 Years. Vientiane: Author. [in Thai].
ชนม์นิภา โคตะบิน, วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์ และภูมิพงศ์ จอมหงส์พิพัฒน์. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอกนิชันร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสกลนคร, 9(24), 198.
Khotabin, C., Vonganusith, V., and Jomhongbhibhat, B. (2017). The development of instructional activity using a metacognitive strategy in conjunction and cooperative integrated learning for English reading skill of Mathayomsuksa 3 students. Journal of Curriculum and Instruction Sakhon Nakhon Rajabhat University, 9(24), 198. [in Thai].
ธารทิพย์ ขาลรัมย์. (2558). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การเรียนรู้แบบ
เมตาคอกนิชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.
Khanram, T. (2015). A development of an English reading comprehension skill package using by metacognition strategies for Mathayomsuksa 5 students (Master of education thesis, program in Curriculum and Instruction). Buriram Rajabhat University, Buriram. [in Thai]
มณีรัตน์ สุกโชติรัตน์. (2555). อ่านเป็น : เรียนก่อนสอนเก่ง. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คคพับลิเคชั่นส์.
Sukchotrat, M. (2012). Reading from Lower to Higher Levels: Learning to Teach (4th ed.). Bangkok: Nami Book Publication. [in Thai].
วิทยาลัยครูปากเซ. (2561). บทรายงานผลการประเมินประกันคุณภาพหลักสูตรสร้างครูสาขาภาษาอังกฤษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560-2561. 29 กุมภาพันธ์. วิทยาลัยครูปากเซ: ผู้แต่ง.
Pakse Teacher Training College. (2018). A report of the quality assessment of English teacher curriculum in the first semester of academic year 2560-2561. 29 February. Pakse Teacher Training College: Author.
วิภาดา พูลศักดิ์วรสาร. (2555). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านเน้นภาระงานโดยใช้กลวิธีอภิปัญญา สำหรับผู้ใหญ่ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและ
การสอน). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
Poonsakvorasan, V. (2012). The development of task-based instructional model by using metacognitive strategies for enhancing adult learner’s reading comprehension (Doctoral of philosophy dissertation, program in Curriculum and Instruction). Silpakorn University, Nokhonpathom. [in Thai].
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2554). นวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ช้างทอง.
Soonthornrojana, W. (2011). Thai language learning innovation. Bangkok: Xangthong. [in Thai].
สุวัจนา ประราชิโก. (2558). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กลวิธี เมตาคอกนิชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.
Prarachiko, S. (2015). The effects of using English reading comprehension practice exercises by using metacognition strategy for Matthayomsuksa 3 students (Master of education thesis, program in Curriculum and Learning Management). Buriram Rajabhat University, Buriram.
[in Thai].
Anderson, N. (1999). Explore second language reading: issue and strategies. Boston: Heinle and Heinle Publishers.
Brown, A. (1987). Metacognition, executive control, self-regulation, and other more mysterious mechanism. In F.E. Weinert, & R.H. Kluwe, (Eds). Metacognition, motivation, and understanding, (pp. 65-116). Hillsdale, N.J.: Lawrence Erlbaum.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
1. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ได้มีการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมแล้ว ไม่เกินร้อยละ 25
2. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้เป็นข้อคิดเห็น ข้อค้นพบของผู้เขียนบทความ โดยผู้เขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น ๆ
3. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานีก่อนเท่านั้น และจะต้องมีการอ้างอิงวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี ฉบับนั้น ๆ ด้วย