การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 14 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 โดยการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ศุภรักษ์ ฮามคำไพ
  • ณรงค์ฤทธิ์ อินทนาม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ธิดารัตน์ จันทะหิน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การวิจัยปฏิบัติการ, ความคิดสร้างสรรค์, ประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยใช้การจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลัง
การปฏิบัติการ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนชุมชนห้วยไผ่ จำนวน 16 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ท้ายแผน 3) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ท้ายวงจร 4) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ของ Torrance และ 5) แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดประสบการณ์ของครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Wilcoxon Signed Ranks Test

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การปฏิบัติการที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีลักษณะบันไดเวียน 4 วงจร แต่ละวงจร ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการวางแผน 2) ขั้นการปฏิบัติการและการสังเกต และ 3) ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติการ มีการจัดกิจกรรมที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 8 ทักษะ เป็นรูปแบบที่เปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัยมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม มีประสบการณ์ตรงได้ลงมือปฏิบัติจริง
  2. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความคิดสร้างสรรค์หลังปฏิบัติการสูงกว่าก่อนปฏิบัติการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

Ministry of Education. (2017). Early childhood education curriculum B.E. 2560. Bangkok: Author. [In Thai].

ฉัตรทราวดี บุญถนอม. (2558). การจัดประสบการณ์บูรณาการสตรีมศึกษาโดยการใช้วรรณกรรมเป็นฐานเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาปฐมวัยศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Boonthanom, C. (2015). Integrated STEM education to learning experience provision by using literatore based for development of creative thinking of preschool. (Master of education thesis, program in Early Childhood Education). Kasetsart University, Bangkok. [in Thai].

พัชรีย์ ซาเสน. (2562). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดการเรียนรู้แบบ MATH-3C โรงเรียนนาหว้าประชาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

Sasen, P. (2019). The development of creative thinking for early childhood students by using MATH-3C learning management at Nawaprachason school under the Mukdahan Primary Educational Service Area Office. (Master of education thesis, program in Educational Research and Evaluation). Ubon Ratchathani Rajabhat University, Ubon Ratchathani. [in Thai].

พัทฐรินทร์ โลหา. (2561). การพัฒนาพฤติกรรมกล้าแสดงออกและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดยการจัด การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.

Loha, P. (2018). The development of assertive behaviors and creative thinking early childhood by STEM education (Master of education thesis, program in Curriculum and Instruction). Nakon Ratchasima Rajabhat University, Nakon Ratchasima. [in Thai].

มนตกานต์ จิตชาตรี. (2561). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตามแนวคิดไฮ/สโคป ของนักเรียนชั้นปฐมวัยศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 4 (รัตนโกสินทร์ 200 ปี) (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนวิทยาศาสตร์). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

Jitchatree, M. (2018). Development of Science Process Skills for Third Year Preschoolers at Tassaban 4 (Ruttanagosin 200 years) School Using High/Scope Approach (Master of education thesis, program in Science Teaching). Sakon Nakhon Rajabhat University, Sakon Nakhon. [in Thai].

ศรีนวล ศรีอ่ำ. (2558). ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ลพบุรี.

Sriam, S. (2015). Experimental results of the learning experience management focusing on science process skills of Kindergarten Children 2 (Master of education thesis, program in Curriculum and Instruction). Thepsatri Rajabhat University, Lop Buri. [in Thai].

สถาบันส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2008). Early childhood science learning in Early Childhood Education Curriculum B.E. 2546. Bangkok: Author. [in Thai].

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.(2555). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม(พ.ศ. 2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

Office for National Education Standards and Quality Assurance. (2012). The third round of external Quality assessment reports (B.E. 2554-2558) basic education level. Bangkok: Author. [in Thai].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01

How to Cite

ฮามคำไพ ศ., อินทนาม ณ. ., & จันทะหิน ธ. (2020). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 14 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 โดยการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. วิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 9(2), 140–148. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ubonreseva/article/view/242126