การประยุกต์ใช้โมเดลตอบสนองข้อสอบในการพัฒนาคลังข้อสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
คำสำคัญ:
คลังข้อสอบ, โมเดลการตอบสนองข้อสอบ 4 พารามิเตอร์, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคลังข้อสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน โดยประยุกต์ใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบ 4 พารามิเตอร์ ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 613 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก วิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบโดยใช้โปรแกรม R แพ็กเกจ mirt, lavaan, psych และ GPArotation
ผลการวิจัยพบว่า
ข้อสอบที่สร้างขึ้นมีค่าพารามิเตอร์เป็นไปตามเกณฑ์จำนวน 31 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.765 ถึง 4.877 ค่าจุดตัดความยาก ตั้งแต่ -2.785 ถึง 2.928 ค่าโอกาสการเดา ตั้งแต่ 0.088 ถึง 0.291 และค่าความสะเพร่า ตั้งแต่ 0.704 ถึง 0.971 ข้อสอบในคลังข้อสอบมีความเป็นเอกมิติ และมีความตรงเชิงเนื้อหา สามารถนำมาใช้เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาโปรแกรมทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
References
เบญจมาภรณ์ เสนารัตน์ และสมประสงค์ เสนารัตน์. (2561). หลักการวัดและประเมินผลทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.
Senarat, B., & Senarat, S. (2018). Principles of Educational Measurement and Evaluation (4th ed.). Mahasarakham: Aphichat Printing. [in Thai].
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). ทฤษฎีทดสอบแนวใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
Kanjnawasee, S. (2012). Modern test Theories (4th ed.). Bangkok: Chulalongkorn university
Printing House. [in Thai].
อนงค์ แก่นอินทร์. (2556). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ครุศาตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.
Kaen-in, A. (2013). Development of Learning Packages to Enhance the Fundamental Scientific Process Skills for Prathomsuksa VI Students (Master of Education thesis, program in Curriculum and Instruction). Buriram Rajabhat University, Buriram. [in Thai].
Brown, T.A. (2006). Confirmatory Factor Analysis for Applied Research. New York: The Guilford Press.
Barton, M.A., & Lord, F.M. (1981). An Upper Asymptote for the Three-parameter Logistic Item-Response Model. Princeton, NJ: Educational Testing Service.
Chalmers, R.P. (2020). Package ‘mirt’. Retrieved June, 3, 2020, from https://cran.r- project.org/ web/packages/mirt/mirt.pdf.
Choi, Y.-J. & Asilkalkan, A. (2019). An R packages for item response theory analysis: Descriptions and features. Measurement: Interdisciplinary Research and Perspectives, 17(3), 168-175.
Gross, J. & Ligges, U. (2015). Package ‘Nortest’. Retrieved June, 3, 2020 from https://cran.r-project.org/web/packages/nortest/nortest.pdf.
Hair, Joseph F., Jr., Black, William C., Babin, Barry J., and Anderson, Rolph E. (2014). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Liao, W.-W., Ho, R.-G., Yen, Y.-C., & Cheng, H.-C. (2012). The Four-parameter Logistic Item Response Theory Model as a Robust Method of Estimating Ability Despite Aberrant Responses. Social Behavior and Personality, 40, 1679-1694.
McDonald, Mary E. (2002). Systematic Assessment of Learning Outcomes: Developing Multiple-Choice Exams. Burlington, MA: Jones and Bartlett Publishers.
Revelle, W. (2020). Package ‘psych’. Retrieved June, 3, 2020, from https://personality-project.org/r/psych-manual.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
1. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ได้มีการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมแล้ว ไม่เกินร้อยละ 25
2. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้เป็นข้อคิดเห็น ข้อค้นพบของผู้เขียนบทความ โดยผู้เขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น ๆ
3. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานีก่อนเท่านั้น และจะต้องมีการอ้างอิงวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี ฉบับนั้น ๆ ด้วย