การปฏิบัติการพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านนาหว้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 3 19-26
คำสำคัญ:
ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาบทคัดย่อ
บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิบัติการและศึกษาผลการพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาในการพัฒนาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านนาหว้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต3 จำนวน 26 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัด การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา 2) แบบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 3) แบบทดสอบย่อย 4) แบบสังเกต 5) แบบสัมภาษณ์ 6) แบบบันทึกประจำวัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นทำความเข้าใจโจทย์ 2) ขั้นวางแผนแก้ปัญหา 3) ขั้นปฏิบัติตามแผน 4) ขั้นตรวจสอบ ทำการปฏิบัติการ 4 วงจร ทำให้นักเรียนรู้จักฝึกคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มีลำดับขั้นตอน สามารถวิเคราะห์แยกแยะปัญหา ค้นหาคำตอบด้วยตนเองด้วยวิธีที่หลากหลาย โดยมีการเชื่อมโยงความรู้ที่เรียนเข้ากับความรู้เดิมที่เรียนมาแล้ว สามารถตรวจสอบการได้มาของคำตอบจากการค้นพบด้วยตัวเองได้อย่างสมเหตุสมผล ทำให้นักเรียนเข้าใจปัญหาและวิธีแก้ปัญหาโดยรวม
- ผลการพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังการปฏิบัติการมีความก้าวหน้าเฉลี่ย ร้อยละ 34.40 และนักเรียนทุกคนมีทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60
References
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3, สำนักงาน. การประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานโครงการประเมินคุณภาพผู้เรียนปีการศึกษา 2552. อุบลราชธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3, 2553.
คุณัญญา บุ้งทอง. การปฏิบัติการพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านนาหว้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2556.
จิตประไพ เทพวีระกุล. การพัฒนาการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนบ้านด่านซ้ายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 3 โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 2553.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. การวิจัยปฏิบัติการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป, 2552.
บ้านนาหว้า, โรงเรียน. รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. อุบลราชธานี : โรงเรียนบ้านนาหว้า, 2553.
รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), สำนักงาน. รายงานการประเมิน คุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), 2551.
วรางคณา บุญครอบ. ศึกษาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้วิธีการแก้ปัญหาตามขั้นตอนของโพลยากับเทคนิคKWDL ของคารร์ (Carr) และโอเกิล (Ogle). วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 2553.
วราภรณ์ พรายอินทร์. ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์และความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. จากการใช้วิธีสอนแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา ร่วมกับ
การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการแบ่งกลุ่มตามสัมฤทธิผลทางการเรียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2551.
วันวิษา อังคะนา. การพัฒนากิจกรรมการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามขั้นตอนของโพลยา โดยใช้การเรียนรู้ แบบร่วมมือ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2553.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ, 2551.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. การอบรมครูด้วยระบบทางไกล สาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค., 2554.
สุวรรณา จุ้ยทอง. การออกแบบการเรียนการสอนเพื่อฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2552.
สุวิมล ว่องวาณิช. การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
อรทัย ทองน้อย.การพัฒนากิจกรรมการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามขั้นตอนของโพลยาโดยใช้การเรียนรู้ แบบร่วมมือ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2553.
อัมพร ม้าคนอง. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
1. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ได้มีการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมแล้ว ไม่เกินร้อยละ 25
2. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้เป็นข้อคิดเห็น ข้อค้นพบของผู้เขียนบทความ โดยผู้เขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น ๆ
3. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานีก่อนเท่านั้น และจะต้องมีการอ้างอิงวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี ฉบับนั้น ๆ ด้วย