การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองเชือก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 1-9
คำสำคัญ:
การวิจัยปฏิบัติการ, กระบวนการเรียนรู้, จิตตปัญญาศึกษา, ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อปฏิบัติการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หลังการปฏิบัติการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามกระบวนการจิตตปัญญาศึกษาสำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองเชือก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียน จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามกระบวนการจิตตปัญญาศึกษาจำนวน 8 แผน 2) แบบประเมินพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- การปฏิบัติการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา มีลักษณะเป็นบันไดเวียน 2 วงจร ประกอบด้วยลักษณะการเรียนรู้ตามกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา 5 ประการ คือ (1) ลงมือกระทำด้วยความคิด (2) ผู้เรียนต้องแสดงออกที่ดี (3) เรียนแบบร่วมมือจากการทำกิจกรรมกลุ่ม (4) เรียนรู้จากการค้นพบด้วยตนเอง และ (5) เห็นความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของตน
- การเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการปฏิบัติการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามกระบวนการจิตตปัญญาศึกษากับเกณฑ์ พบว่านักเรียนร้อยละ 82.76 มีคะแนนพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม
References
. การสอนแบบจิตปัญญา. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์, 2543.
. รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ: เบรน เบส บุ๊ค, 2551.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว กระทรวงศึกษาธิการ, 2551.
จำแรง นกเอี้ยง. ผลการจัดประสบการณ์แบบจิตปัญญาที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2549.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. การวิจัยปฏิบัติการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป, 2552.
นิสา พนมตั้ง. การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลวิศิษฐ์อำนวยศิลป์ จังหวัดบึงกาฬ : กระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำดับเวลา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2554.
พรทิพย์ แจ่มอัมพร. การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา (ออนไลน์) 2554 (อ้างเมื่อ 26 ธันวาคม 2554). จากhttp://www.thaigoodview.com/node/122238.
พรรณี ช. เจนจิต. จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, 2550.
พัชรี นันท์ดี. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแดงใหญ่ (ราษฎร์คุรุวิทยาคาร) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยใช้เกมการศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 2553.
ภรณี คุรุรัตนะ. “เด็กปฐมวัยในทามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลง,” การศึกษาปฐมวัย. 1,1 (มกราคม 2540):
43 – 51.
เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ระยะยาว
พ.ศ.2550-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2550.
วิมลพันธ์ บุญพงษ์. การเปรียบเทียบความสามารถทางคณิตศาสตร์และความสามารถทางภาษาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ด้วยการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิตปัญญากับกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2552.
สิริมณี บรรจง. เด็กปฐมวัยกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏ
สวนสุนันทา, 2549.
หทัยรัตน์ ทรวดทรง. การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสอนแบบจิตปัญญา. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2550.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
1. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ได้มีการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมแล้ว ไม่เกินร้อยละ 25
2. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้เป็นข้อคิดเห็น ข้อค้นพบของผู้เขียนบทความ โดยผู้เขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น ๆ
3. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานีก่อนเท่านั้น และจะต้องมีการอ้างอิงวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี ฉบับนั้น ๆ ด้วย