ตัวแปรที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 91-100

ผู้แต่ง

  • รุ่งอรุณ คูณแก้ว
  • เชาวน์ประภา เชื้อสาธุชน
  • ชวนชัย เชื้อสาธุชน

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์, ตัวแปรด้านพุทธิพิสัย, ตัวแปรด้านจิตพิสัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  2) เพื่อศึกษาตัวพยากรณ์ที่ดีของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 จำนวน 376 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบทดสอบจำนวน 3 ฉบับ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.78 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.93 และค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.82 ถึง 0.88 และแบบสอบถามจำนวน 4 ฉบับ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.27 ถึง 0.70 และค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.82 ถึง 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. ตัวแปรทั้ง 6 ตัว ได้แก่ ความรู้พื้นฐานเดิม ความถนัดทางการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เจตคติต่อ       การเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ มโนภาพแห่งตน และความตั้งใจเรียน ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.66
  2. ตัวแปรพยากรณ์ที่ดีของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ความถนัดทางการเรียน (APT) และความรู้พื้นฐานเดิม (BAS) โดยร่วมกันอธิบายความแปรปรวนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ได้ร้อยละ 44
  3. สมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขียนในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ   = 2.37 + .26(APT) + .40(BAS)

สมการณ์พยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน  =

 

References

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3, สำนักงาน. รายงานการประเมินคุณภาพนักเรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา 2555. อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเชทการพิมพ์, 2556.
. รายงานการประเมินคุณภาพนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน
ปีการศึกษา 2556. อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเชทการพิมพ์, 2557.
จิตติพร เชื้อบัณฑิต. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภูเขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2553.
ชนกนาถ สมีน้อย. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2557.
ดรรชนี ศรีธัญรัตน์. ตัวแปรที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เขตจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2549.
มณิภา เรืองสินชัยวานิช. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2551.
วิชาการ, กรม. คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและ พัสดุภัณฑ์, 2545.
วิมล ประจงจิตร. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 2553.
วิลาวรรณ จตุเทน. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2555.
ศิริพรรณ แก่นสาร์. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2555.
ศิลปชัย ซื่อตรง. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2555.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2551.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2557. (ออนไลน์) 2558 (อ้างเมื่อ 5 พฤษภาคม 2559). จาก http:// www. onetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/School/ frContentStatValueBySchool.aspx?mi=3&smi=2
. รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ปีการศึกษา 2558. (ออนไลน์) 2559 (อ้างเมื่อ 5 พฤษภาคม 2559). จาก http://www.onetresult.niets.or.th/ AnnouncementWeb/School/ frContentStatValueBySchool.aspx?mi=3&smi=2
สุขฤกษ์ ดีโนนโพธิ์. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 2554.
สุภมาศ ถานโอภาส. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2555.
สุภาพร น้อยแก้ว. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2558.
Bloom, Benjamin S. Human Characteristics and School Learning. New York: McGraw-Hill, 1982.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-29

How to Cite

คูณแก้ว ร. ., เชื้อสาธุชน เ. ., & เชื้อสาธุชน ช. . . (2021). ตัวแปรที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 91-100. วิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 6(2), 91–100. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ubonreseva/article/view/251050