การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค SQ6R สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการเงินภาคใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค SQ6R
คำสำคัญ:
English Reading Comprehension Learning Kits, SQ6R Technique.บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยเทคนิค SQ6R สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการเงินภาคใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยเทคนิค SQ6R และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านด้วยเทคนิค SQ6R ตัวอย่างในการวิจัยคือนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการเงินภาคใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็น หน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษด้วยเทคนิค SQ6R จำนวน 12 ชุด ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .67-.80 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .31-.76 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ .97 และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักศึกษาที่มีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านด้วยเทคนิค SQ6R ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
- ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค SQ6R ประกอบด้วยเรื่อง Greeting Customs, Education and Schooling, Technology in Education, Digital Marketing, The Piracy Business, Advantages of Accounting, Finance vs. Accounting, Logistics, Government Jobs vs. Private Jobs, A Job Application, A Job Interview และ Business Communication มีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 81.5/82.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
- นักศึกษาที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค SQ6R มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค SQ6R อยู่ในระดับมาก
References
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการกรมสร้างครู ศูนย์พัฒนาครู. วิธีสอนภาษาลาว 1 สายสร้างครูมัธยมศึกษา ระบบ 3 ปี. นะคอนหลวงเวียงจัน: Nhan Dan Printing House HCMC, 2551.
จุรีภรณ์ มะเลโลหิต. ผลการใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R เพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนิสิตที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยทักษิณ (บทคัดย่อ). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2561. ใน: อินทนิลทักษิณสาร. ฉบับที่ 3 (พิเศษ). สงขลา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2561.
นัฐปภัสร์ ทับแอน. การพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2563.
วราวรรณ นันสถิตย์ และอัฐพล อินต๊ะเสนา. การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 41: 1 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2565): 73.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. นวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ช้างทอง, 2554.
ศิริชัย กาญจนวาสี. การทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.
โศภิษฐ์ อุดม. การใช้วิธีการสอนอ่านแบบ พี คิว โฟร์ อาร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนย่อความภาษาอังกฤษและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545.
สุกดาวัน ไชยะเสน. ผลของการใช้ SQ5R เพื่อเพิ่มพูนการอ่านและการเข้าใจของนักศึกษาลาวระดับวิทยาลัยที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 2561.
อารีย์ ทองเพ็ง. ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธี SQ6R ร่วมกับเทคนิค KWL ที่มีต่อ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความเข้าใจในการอ่าน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและวิธีสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2556.
อุษาวดี ชูกลิ่นหอม และ สมพร ร่วมสุข. การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบ SQ5R. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1, 2562.
Carr E. and Ogle, D. “KWL Plus: a strategy for comprehension and summarization.” Journal of eading, 30, 626-631, 1987.
Robinson & Francis Pleasant. Effective Study (6 ed.). New York: Harper & Row, 1982.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ได้มีการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมแล้ว ไม่เกินร้อยละ 25
2. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้เป็นข้อคิดเห็น ข้อค้นพบของผู้เขียนบทความ โดยผู้เขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น ๆ
3. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานีก่อนเท่านั้น และจะต้องมีการอ้างอิงวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี ฉบับนั้น ๆ ด้วย