การพัฒนาจุดเน้นเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28

ผู้แต่ง

  • สิทธิพงษ์ สุพรม สพม.28

คำสำคัญ:

การพัฒนาจุดเน้น, คุณภาพการศึกษา, นักเรียนมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาจุดเน้น 2) เพื่อพัฒนาจุดเน้น 3) เพื่อศึกษาผลการใช้จุดเน้น และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้จุดเน้นเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน โรงเรียนยางชุมน้อยพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน พบว่า กระบวนการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษามีองค์ประกอบที่ 1-7 คือ 1) การบริหารคน 2) ความรอบรู้ในการบริหาร 3) การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ 4) การบริหารอย่างมืออาชีพ
    5) ความมีคุณภาพ 6) ความมีประโยชน์ และ 7) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ตามลำดับ
  2. ผลการวิเคราะห์ได้จุดเน้นเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา 6 ข้อ ประกอบด้วย 1) จุดเน้นและนโยบายด้านการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง 2) จุดเน้นและนโยบายด้านการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน 3) จุดเน้นและนโยบายด้านการส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 4) จุดเน้นและนโยบาย ด้านโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการทางการศึกษา 5) จุดเน้นและนโยบายด้านการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 6) จุดเน้นและนโยบายด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
  3. ผลการใช้จุดเน้นเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพมาก
  4. ผลการประเมินจุดเน้นเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กมลทิพย์ ทองกำแหง. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมสาหรับผู้บริหารโรงเรียนเอกชน(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Thongkamhaeng, K. (2011). Strategies for Developing Ethical Leadership for Private School (Doctor of Administrators thesis, Program in Educational Administration). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai].

กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. (2562). ข้อมูลและสารสนเทศ. ศรีสะเกษ: พานทองการพิมพ์.

Policy and Planning Group, The Secondary Educational Service Area Office 28. (2019). Data and Information. Sisaket: Phan Thong Printing. [in Thai].

จิระ งอกศิลป์. (2551). คู่มือการเตรียมสอบสำหรับผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาประเมินความสามารถทางการบริหาร. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

Ngogsilp, J. (2008). Exam preparation guide for the school director. Director of Educational Assessment Academy Administrative competencies. Chaiyaphum: Chaiyaphum Rajabhat University. [in Thai].

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Khajonnan, N. (2009). Strategic Management. Bangkok: SE-EDUCATION.

ทวีศักดิ์ สว่างเมฆ. (2557). กลยุทธ์การจัดการกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของนิสิตนักศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(2), 140.

Sawangmek, T. (2014). Sports management strategies for health promotion of students. Journal of Education, Naresuan University, 16(2), 140. [in Thai].

ทองพรรณ ปัญญาอุดมกุล. (2556). กลยุทธ์การสร้างอัตลักษณ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 10(18), 32.

Panyudomkul, T. (2013). Identity building strategy of small, basic education institutions in the area Upper Northern. Journal of Educational Management Srinakharinwirot University, 10(18), 32. [in Thai].

ธงชัย สภานุชาติ. (2542). การบริหารองค์การพัฒนาเอกชน. กรุงเทพฯ: ศูนย์การศึกษา.

Sapanuchat, T. (1999). Governmental organization. Bangkok: Education Center. [in Thai].

ธิติรัตน์ วิศาลเวทย์. (2540). การวางแผนกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารสถาบันราชภัฎอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์: สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์.

Wisanwet, T. (1997). Strategic Planning for Administrators of Rajabhat Institute Uttaradit. Uttaradit: Uttaradit Rajabhat Institute. [in Thai].

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

Akakul, T. (2000). Research Methodology in Behavioral Sciences and Social Sciences. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani Rajabhat Institute. [in Thai].

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

Si Sa-ad, B. (2002). Basic research (7th ed.), Bangkok: Suwiriyasarn. [in Thai].

มณลักษณ์ ภักดีชน. (2557). การพัฒนาจุดเน้นการบริหารแบบดุลยภาพ (BSC) สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(1), 108.

Phakdeechon, M. (2014). Developing a Balance of Balance Management (BSC) for Basic Education Schools. Journal of Education Naresuan University, 16(1), 108. [n Thai].

ศักดิ์ชัย เพชรแกมทอง, สมชัย วงษ์นายะ และทวนทอง เชาวกีรติพงศ์. (2555). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(4), 55.

Petchkamthong, S., Wongnaya, S., and Chaowakiraphong, T. (2012). Developing management strategies Manage learning sources of basic education institutions Under the Educational Service Area Office Primary Education, Kamphaeng Phet, Zone 1 and 2. Journal of Education Science, Naresuan University, 15(4), 55. [in Thai].

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: วิสิทธ์พัฒน์.

Serirat, S. (1998). Strategic management and case studies. Bangkok: Wisit Phatthana. [in Thai].

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2557). การบริหารเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.

Phakphasiviwat, S. (2014). Strategic management. Bangkok: Amarin Printing. [in Thai].

สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

Phatthiyathani, S. (2001). Educational Evaluation. Kalasin: Prasarn Printing. [in Thai].

สมบัติ ศรีสุพัฒน์. (2556). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนสาหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่สูงภาคเหนือ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Srisuphat, S. (2013). Developing a community participatory management strategy for schools basic in the highland region of Northern Thailand (Thesis in Political Science Educational Administration). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai].

สมพิศ ใช้เฮ็ง. (2554). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนสาหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่สูงภาคเหนือ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ChuengHeng, S. (2011). Developing a community participatory management strategy for schools basic in the highland areas of the northern region (Ph.D. Thesis, Educational Administration). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai].

สมยศ นาวีการ. (2557). การบริหาร. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

Naweekarn, S. (2014). Administration. Bangkok: Bunnakij. [in Thai].

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2554). รายงานการวิจัยและประเมินผลประสิทธิภาพของการประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

Office of the National Education Commission Research. (2011). Report and evaluation of the efficiency of Primary education. Bangkok: Khurusapha Publishing House, Lat Phrao. [in Thai].

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2556). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิด และทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Saritwanich, S. (2013). Modern Organizational Behavior: Concepts and Theories (2nd ed.). Pathum Thani: Thammasat University. [in Thai].

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา องค์กรมหาชน. (2553). 5 ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก. ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้น 25 ตุลาคม 2562, จาก www.prachachat.net/news_detail.php?newsid= 1449127510.

Office for National Education Standards and Quality. (2010). 5 Small School Problems. Nation Business. Retrieved October, 25, 2019, from www.prachachat.net/news_detail.php?newsid= 1449127510. [in Thai].

Dess, G.G., Lumpkin, G.T., & Eisner, A.B. (2007). Strategic management : text and cases. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29

How to Cite

สุพรม ส. . (2020). การพัฒนาจุดเน้นเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 9(2), 96–107. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ubonreseva/article/view/227410