การปฏิบัติการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้วิธีการออกแบบย้อนกลับวิชาวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบึงหอม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 17-26

ผู้แต่ง

  • กานดา ลุลอบ
  • ธีรวุฒิ เอกะกุล

คำสำคัญ:

Development of learning achievement using the backward design approach, operation research, science

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้วิธีการออกแบบย้อนกลับ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อเปรียบเทียบผลการปฏิบัติการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการปฏิบัติการโดยใช้วิธีการออกแบบย้อนกลับ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบึงหอม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบึงหอม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการออกแบบย้อนกลับ จำนวน 12 แผน มีค่าเฉลี่ย 4.61  2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (2) แบบทดสอบท้ายวงจร (3) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู (4) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน (5) แบบสัมภาษณ์นักเรียน (6) แบบบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยของประชากรและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การปฏิบัติการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้วิธีการออกแบบย้อนกลับ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ หน่วยการเรียนเรื่อง สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น ได้ผลการปฏิบัติการมีลักษณะเป็นบันไดเวียน 5 วงจร  ประกอบด้วย วงจรที่ 1 เรื่อง สิ่งแวดล้อม วงจรที่ 2 เรื่อง ทรัพยากรดิน  วงจรที่ 3 เรื่อง ทรัพยากรน้ำ  วงจรที่ 4 เรื่อง ทรัพยากรป่าไม้ และวงจรที่ 5 เรื่อง ปัญหาการใช้และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งสิ้น 12 แผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งในแต่ละวงจรประกอบด้วย ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติการ ขั้นสังเกตการณ์และขั้นสะท้อนผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้วิธีการออกแบบย้อนกลับ ซึ่งมีขั้นตอน 3 ขั้น 1) กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ 2) กำหนดหลักฐานการเรียนรู้ 3) วางแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ และการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน  ผลการปฏิบัติการพบว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการออกแบบย้อนกลับสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ดีขึ้น 
  2. การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการปฏิบัติการโดยใช้วิธีการออกแบบย้อนกลับ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบึงหอม พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังปฏิบัติการสูงกว่าก่อนปฏิบัติการ

 

คำสำคัญ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้วิธีการออกแบบย้อนกลับ, การวิจัยปฏิบัติการ, วิทยาศาสตร์

References

กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา. การออกแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ พัฒนาข้าราชการครูเพื่อเลื่อนวิทยฐานะเป็นครูชำนาญการพิเศษ ครั้งที่ 2 กรณีพิเศษ ; 13 มกราคม 2550 ; กรุงเทพฯ.
กานดา ลุลอบ. การปฏิบัติการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้วิธีการออกแบบย้อนกลับวิชาวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบึงหอม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2556.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2551.
คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2554.
ณัฐพร นุกูลการ. การปฏิบัติการพัฒนาการเรียนแบบร่วมมือกันในวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2551.
ไตรรงค์ เจนการ. การศึกษามาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดโดยใช้ Backward Design เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนและประเมินผล. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2550.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. การวิจัยปฏิบัติการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป, 2552.
นรินทร์ สมบูรณ์. ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์วิชาเลือกนาฏศิลป์พื้นเมือง เรื่อง ประเพณี ผูกเสี่ยวจังหวัดขอนแก่น โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ย้อนกลับ(Backward Design) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, 2553.
พรรัตน์ กิ่งมะลิ. การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืช โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหา ความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนตำหรุ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2552.

พิกุล ตระกูลสม. การวิจัยปฏิบัติการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง โดยรูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน
ที โอ เอ วิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2552.
ภพ เลาหไพบูลย์. แนวการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2542.
มูหามัดรุสดี โวะ. ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผลปลายทางที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา 6 โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2553.
เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พริกหวานกราฟฟิค, 2552.
วิชาการ, กรม. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2545.
. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2552.
สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2550.
อดุลย์ ไพรสณฑ์. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการเรียนตามแนวคิด Backward Design กับการเรียนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-27

How to Cite

ลุลอบ ก., & เอกะกุล ธ. (2021). การปฏิบัติการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้วิธีการออกแบบย้อนกลับวิชาวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบึงหอม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 17-26. วิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 2(1), 17–26. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ubonreseva/article/view/250832