การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของสมรรถนะนักศึกษาแพทย์แผนไทย ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 70-81
คำสำคัญ:
โมเดลเชิงสาเหตุ, สมรรถนะนักศึกษาแพทย์แผนไทย, กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับสมรรถนะของนักศึกษาแพทย์แผนไทยตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (2) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลเชิงสาเหตุของสมรรถนะนักศึกษาแพทย์แผนไทยตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ
(3) ศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะของนักศึกษาแพทย์แผนไทยตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาแพทย์แผนไทยชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 400 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ แบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้แบบสอบถาม ตอนที่ 2 แบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนักศึกษาแพทย์แผนไทย มีลักษณะประมาณค่า 5 ระดับ วัดจำนวน 8 ตัวแปร คือ (1) เจตคติต่อวิชาชีพ (2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (3) การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม (4) ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน (5) การจัดการเรียนการสอน (6) การประเมินผลภาคปฏิบัติ (7) สภาพแวดล้อมในสถาบันการศึกษา (8) ทรัพยากรการเรียนรู้ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.831, 0.842, 0.911, 0.835, 0.947, 0.938, 0.724 และ 0.919ตามลำดับ ตอนที่ 3 แบบวัดสมรรถนะของนักศึกษาแพทย์แผนไทยตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.978 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความโด่ง ความเบ้ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม Mplus version 6.12
ผลการวิจัย พบว่า
- สมรรถนะนักศึกษาแพทย์แผนไทยตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติโดยรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก ( =3.69, S=.053) โดยสมรรถนะด้านคุณธรรม จริยธรรมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( =4.00, S=.481) ส่วนสมรรถนะด้านวิชาชีพแพทย์แผนไทยมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ( = 3.54, S =.558)
- โมเดลเชิงสาเหตุของสมรรถนะของนักศึกษาแพทย์แผนไทยที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า =61.362, df=46, /df =1.333, p=0.0643, CFI = 0.992, TLI=0.984, RMSEA =0.029, SRMR =0.035
- ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะนักศึกษาแพทย์แผนไทยตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ คือ ปัจจัยด้านคุณลักษณะของนักศึกษา ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้สอน และปัจจัยสิ่งแวดล้อมการเรียนการสอน โดยปัจจัยสิ่งแวดล้อมการเรียนการสอนมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.246 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อสมรรถนะนักศึกษาแพทย์แผนไทยตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ คือ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมการเรียนการสอนและปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้สอนผ่านปัจจัยด้านคุณลักษณะของนักศึกษา โดยปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้สอนมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.917 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้สอนมีค่าเท่ากับ 0.468 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมการเรียนการสอน โดยมีอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.207 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตามลำดับ โดยปัจจัยทั้งหมดสามารถอธิบายความแปรปรวนของสมรรถนะนักศึกษาแพทย์แผนไทยตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติได้ร้อยละ 40.3
References
การอุดมศึกษาแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการ. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (Thai Qualifications Framework for Higher Education หรือ TQF : HEd) (ออนไลน์) 2554 (อ้างเมื่อ 19 สิงหาคม 2554) จาก http://www.mua.go.th/users/tqfhed/news/FilesNews/FilesNews2/news2. pdf
จินตนา ยูนิพันธ์. การเรียนการสอนทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพยาบาลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527.
ฑินกร โนรี. การศึกษาการวางแผนความต้องการผู้ให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยของสถานบริการภาครัฐในทศวรรษหน้า (ปี พ.ศ.2551-2560). กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ, 2552.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. จิตวิทยาการปลูกฝังวินัยแห่งตน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2523.
ทองเรียน อมรัชกุล. การบริหารกิจการนิสิต : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์
กรมการฝึกหัดครู, 2525.
บุญเรียง ขจรศิลป์. วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: พี.เอ็น.การพิมพ์, 2543.
พัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, กรม. แผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพดีวิถีไท ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2555-2556). กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์, 2555.
ภรณี เชาวกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์พยาบาลและสภาพแวดล้อมของสถาบันกับสมรรถนะเชิงวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสังดักกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.
วิจิตร วรุตบางกูร. การวางแผนผังและพัฒนาสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2525
วิทย์ทิชัย พวงคำ. การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.
วิรุธน์ บัวงาม. การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของสมรรถนะนักศึกษาแพทย์แผนไทยตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2556.
วิไล จัตตุวัฒนา. ปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศองค์การ การสนับสนุนทางสังคมกับเชาว์อารมณ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยโงพยาบาลศูนย์ เขตภาคตะวันออก. ปริญญานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2549.
สถานพยาบาลและและการประกอบโรคศิลปะ, สำนัก. ประกาศรายชื่อสถาบันการศึกษาที่ผ่านการรับรองหลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต. (ออนไลน์) 2555 (อ้างเมื่อ 3 สิงหาคม 2555) จาก http://www.scphpl.ac.th/home/images/stories/161_panthai.pdf
สุชาดา อินทรกำแหง ณ ราชสีมา. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2545.
สุวพร ตั้งสมวรพงษ์. “การพัฒนาบัณฑิตในยุคโลกาภิวัตน์ ในอุดมศึกษาในศตวรรษ์ที่ 21,” เอกสารสัมมนาทางวิชาการ. กรุงเทพฯ: พริ้นโพร, 2542
สุสุรางค์ โค้วตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
อดุลย์ วิริยเวชกุล. ดัชนีบ่งชี้คุณภาพบัณฑิตศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด, 2541
เอกพจน์ สืบญาติ. การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาลตามบทบาทวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2549.
Astin, Alexander W. The College Environment. Washington, D.C.: American Council on Education, 1968.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
1. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ได้มีการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมแล้ว ไม่เกินร้อยละ 25
2. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้เป็นข้อคิดเห็น ข้อค้นพบของผู้เขียนบทความ โดยผู้เขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น ๆ
3. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานีก่อนเท่านั้น และจะต้องมีการอ้างอิงวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี ฉบับนั้น ๆ ด้วย