การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา โดยใช้การจัดการเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน เรื่อง สังคมและวัฒนธรรมไทย รายวิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ชุมชนเป็นฐาน สังคมและวัฒนธรรมไทย สังคมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ทิพยรัตน์ เกิดมงคล -Matthayom trakarn phuetphon school
  • เศวตาภรณ์ ตั้งวันเจริญ
  • สาวิตรี เถาว์โท

คำสำคัญ:

ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ชุมชนเป็นฐาน สังคมและวัฒนธรรมไทย สังคมศึกษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องสังคมและวัฒนธรรมไทยของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องสังคมและวัฒนธรรมไทยของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน เรื่องสังคมและวัฒนธรรมไทย รายวิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมตระการพืชผล จำนวน 1 ห้องเรียน 35 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t – test

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน เรื่องสังคมและวัฒนธรรมไทย รายวิชาสังคมศึกษา พบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
    ที่ระดับ .01
  2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน เรื่องสังคมและวัฒนธรรมไทย รายวิชาสังคมศึกษา พบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  3. ระดับความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน เรื่องสังคมและวัฒนธรรมไทย รายวิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย = 4.17)

References

กล้า ทองขาว. (2561). การจัดการศึกษาฐานชุมชน. กรุงเทพมฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด : ทฤษฎีและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

ปัทมา นันดิลก. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เรื่องการใช้ชีวิตพอเพียงชั้นประถม

ศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏสารคาม,

มหาสารคาม.

ฝนพรม พุทธนา. (2562). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active

Learning ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการนิเทศ) มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

โรงเรียนมัธยมตระการพืชผล. (2564). รายงานวิชาการปีการศึกษา 2564. อุบลราชธานี : กลุ่มบริหารงานวิชาการ.

วริฏฐา เจียวัฒนะ. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระ

การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (สาระพระพุทธศาสนา) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ที่จัดการเรียนการสอนแบบ BIM กับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต

สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

วุฒิชัย เทียมยศ. (2563). การจัดการเรียนรู้ท้องถิ่นศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริม

ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา) มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพ ฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2559). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้,. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-04

How to Cite

เกิดมงคล ท., ตั้งวันเจริญ เ. ., & เถาว์โท ส. (2024). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา โดยใช้การจัดการเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน เรื่อง สังคมและวัฒนธรรมไทย รายวิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3: ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ชุมชนเป็นฐาน สังคมและวัฒนธรรมไทย สังคมศึกษา. วิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 13(1), 12–23. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ubonreseva/article/view/265354