การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวคิด อคิตะ โมเดล

ผู้แต่ง

  • วิลาสินี จันทร์วัติ -
  • ปริญา ปริพุฒ
  • ปิยาภรณ์ พิชญาภิรัตน์

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ , การจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวคิด อคิตะ โมเดล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวคิด อคิตะ โมเดล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การคูณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวคิด อคิตะ โมเดล (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวคิด อคิตะ โมเดล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวคิด อคิตะ โมเดล จำนวน 10 แผน 15 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 15 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวคิด อคิตะ โมเดล เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) ขั้นรู้จักตั้งข้อสังเกตในการเรียนรู้ 2) ขั้นมีความคิดของตัวเอง 3) อภิปรายกันเป็นคู่ (4) ทบทวนเนื้อหาและวิธีการเรียนรู้ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย 80.85 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 7.89 และมีประสิทธิภาพ ( / ) เท่ากับ 81.12/81.34 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวคิด อคิตะ โมเดล หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวคิด อคิตะ โมเดล โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.37 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ .12

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-21

How to Cite

จันทร์วัติ ว., ปริพุฒ ป., & พิชญาภิรัตน์ ป. . (2023). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวคิด อคิตะ โมเดล. วิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 12(2), 60–72. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ubonreseva/article/view/265471