การจัดการการท่องเที่ยวอยุธยาเมืองมรดกโลก

ผู้แต่ง

  • ปราณี ตันประยูร หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • กิติมา ทามาลี หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การจัดการการท่องเที่ยว, เมืองมรดกโลก

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการ การท่องเที่ยวอยุธยาเมืองมรดกโลก 2) ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวอยุธยา เมืองมรดกโลก 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยวอยุธยาเมืองมรดกโลกจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยวอยุธยาเมืองมรดกโลกจำแนกตามพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวอยุธยาเมืองมรดกโลก กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของดับเบิลยู จี คอชแรน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 384 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามได้ค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.95 สถิติที่ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าเอฟ และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการแอลเอสดี
          ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อการจัดการการท่องเที่ยวอยุธยาเมืองมรดกโลกโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.80 S.D. = 0.68) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก ( = 3.90 S.D. = 0.66) รองลงมาคือ ด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก ส่วนด้านที่ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วม ( = 3.87 S.D. = 0.68 และ = 3.67 S.D. = 0.75) ตามลำดับ 2) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รับรู้ข่าวสาร การท่องเที่ยวจากสื่อโทรทัศน์ ซึ่งเป็นสื่อที่เข้าถึงและเข้าใจง่ายที่สุด นักท่องเที่ยวเคยท่องเที่ยวแหล่งมรดกโลกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมภายในประเทศ เคยท่องเที่ยว 5 ครั้งขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพักผ่อน ลักษณะการเดินทางมากับครอบครัวในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ ช่วงเวลา 06.00-12.00 น. โดยเดินทางไปแล้วกลับในวันเดียวกัน 3) นักท่องเที่ยวที่มีอายุ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการการท่องเที่ยวแตกต่างกัน
           ส่วนนักท่องเที่ยวที่มีเพศ และศาสนาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ไม่แตกต่างกัน และ 4) นักท่องเที่ยวที่มีจำนวนครั้งที่มาท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยวมีช่วงเวลาที่เลือกมาท่องเที่ยว และมีรูปแบบการท่องเที่ยวต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการ การท่องเที่ยวแตกต่างกัน ส่วนนักท่องเที่ยวที่เคยมาท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก ลักษณะการเดินทาง และช่วงวันที่เลือกมาท่องเที่ยวต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยวไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กัลยา วนิชย์บัญชา. (2552). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2554). ทรัพยากรการท่องเที่ยว. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก http://highlightthailand.com/th/main/detail_content/Tourism-esources/57.html. (2560, 15 กันยายน).

คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด (พ.ศ. 2557-2560). [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=4&content_id=2562. (2560, 15 กันยายน).

จิรานุช โสภา และคณะ. (2554). รายงานการวิจัยเรื่องศักยภาพการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเมืองมรดกโลกของประเทศไทย กรณีศึกษา: อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชรและอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ชลลดา มงคลวนิช และรัตนาภรณ์ ชาติวงศ์. (2558). ทัศนคติและพฤติกรรมของเยาวชนไทยต่อแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา: อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 10(2): 3-17.

ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. (2558). สังคมเศรษฐกิจการเมืองไทยในประชาคมอาเซียน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 5(1), 209-220.

นิรนาม. (2561). ท่องเที่ยวอยุธยาโตทะลุ 1.5 หมื่นล้าน แรงหนุนละครดัง-ททท.เร่งอัดอีเวนต์ดึงทัวริสต์. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.prachachat.net/local-economy/news-130852 (2561, 15 มีนาคม).

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.

Cochran, W. G. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2018