โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 20

ผู้แต่ง

  • อนุสรา วันธงไชย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุรชา อมรพันธุ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

โปรแกรมพัฒนาครู, การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 และ 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน  สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 การวิจัยครั้งนี้มีลักษณะเป็นการวิจัยและพัฒนา  มีประชากรทั้งหมด  3,081 คน ซึ่งประชากรมาจากผู้บริหารและครูในโรงเรียนมัธยม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 20  ระหว่างปีการศึกษา  2561  กลุ่มตัวอย่างจำนวน  354 คน  เป็นครูจากโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ  จำนวน 185  คน ครูโรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน  62 คน  ครูโรงเรียนขนาดกลาง  97  คน  และครูโรงเรียนขนาดเล็ก  10 คน  การวิจัยแบ่งออกเป็น  2 ระยะ  ระยะที่ 1  ศึกษาสภาพปัจจุบัน  สภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน  ระยะที่ 2  ศึกษาการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน   เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่ปัจจุบันของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 20  โดยรวมอยู่ในระดับน้อย  ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 20  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและ2) โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบเป็นฐาน สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ และมีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีระยาสาส์น.

พิมพันธ์ เตชะคุปต์. (2550). การสอนคิดด้วยโครงงาน:การเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุพาพันธ์ มินวงษ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโครงงาน เน้นการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (3P) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ลัดดา ศิลาน้อย และอังคณา ตุงคะสมิต. (2553). เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนด้วยโครงงาน. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยการประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรนุช ศรีสะอาด. (2547). การพัฒนาครูในการวิจัยเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียน. มหาสารคาม:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อัจฉราวรรณ งามญาณ. (2554). อันเนื่องมาแต่สูตรของยามาเน่. วารสารบริหารธุรกิจ. 34(131): 46-60

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2019