ผลของ BSCI-MODEL ต่อการสอบรวบยอดวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ ของสถาบันสมทบคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คำสำคัญ:
BSCI-MODEL การสอบรวบยอดวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ BSCI-MODEL ต่อการสอบรวบยอดวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ ของสถาบันสมทบคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 จำนวน 118 ราย เข้าร่วมกิจกรรมเตรียความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้น 1 ระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2563 ด้วย BSCI-MODEL ซึ่งประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) การเรียนรู้แบบผสมผสาน 2) การฝึกทักษะรวบยอดโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง 3) กิจกรรมเตรียมความพร้อมด้วยจิตตปัญญา 4) กิจกรรมเตรียมความพร้อมด้วยกระบวนการปลูกดีเอ็นเอของนวัตกร เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้คะแนนสอบรวบยอดวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ ของสถาบันสมทบคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2562 และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่มด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ผลการสอบโดยใช้สถิติบรรยายและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า คะแนนสอบรวบยอดวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ ของนักศึกษามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 34.050 คะแนน (SD = 6.470) มีค่าความเบ้เท่ากับ -0.411เมื่อพิจารณาค่าความโด่งของคะแนนสอบ เท่ากับ 0.484 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพสะท้อนว่า BSCI-MODEL โครงสร้างของรูปแบบมีความชัดเจน มีการเชื่อมโยงเนื้อหาสาระวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่อย่างครบถ้วน รูปแบบเชิงกระบวนการสามารถดำเนินการได้จริง และส่งผลให้นักศึกษามีผลการเรียนรู้ที่ดีขึ้น เป็นรูปแบบหนึ่งที่มีความเหมาะสมสำหรับใช้ในการจัดการศึกษาทางการพยาบาล
References
ขวัญฤทัย พันธุ สุพรรณี เปี้ยวนาลาว จิตติมา ดวงแก้ว และพิศิษฐ์ พลธนะ (2563). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาของรูปแบบการเตรียมความพร้อม BSCI-MODEL ต่อการสอบวัดความรู้รวบยอดของสถาบันพระบรมราชชนก วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. สุพรรณุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี.
ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์.(2546). วิธีคิดกระบวนระบบ (Systems Thinking). เอกสารประกอบการฝึกอบรม เรื่องวิธีคิดกระบวนระบบ (Systems Thinking). สถาบันการเรียนรู้ และพัฒนาประชาคม.
ธนวันต์ ศรีอมรรัตนกุล, จันทร์เพ็ญ นิลวัชรมณี, จินดามาศ โกศลชื่นวิจิตร, มัตถก ศรีคล้อ, อุไร นิโรธนันท์และจิตรลดา ศรีสารคาม.(2560). ผลการเตรียมความพร้อมเพื่อสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ต่อความพร้อมและความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ, 33(2):43-53.
นงณภัทร รุ่งเนย, กฤษณา หงส์ทอง และจันทร์จิรา สีสว่าง.(2559). กระบวนการพัฒนาความรู้ของนักศึกษาพยาบาลเพื่อสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 32(2):56-67.
พิศิษฐ์ พลธนะ ชุติกาญจน์ ฉัตรรุ่ง เราวดีศรีสุข และจันทร์ฉาย มณีวงษ์. (2563). รายงานการวิจัยเรื่องการการทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบเกี่ยวกับรูปแบบการเตรียมความพร้อมเพื่อการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. สุพรรณุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี.
พิศิษฐ์ พลธนะ ชุติกาญจน์ ฉัตรรุ่ง เราวดีศรีสุข และจันทร์ฉาย มณีวงษ์. (2563). รายงานการวิจัยเรื่องผลการพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่เพื่อการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. สุพรรณุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2552). กลยุทธ์การขับเคลื่อนนวัตกรรมการเปลี่ยนผ่านการศึกษา “สัตตศิลา” สู่โรงเรียน. เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ การวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 13 วันที่ 10 – 11 กันยายน 2552 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพฯ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธืการ
มกราพันธุ์ จูฑะรสก.(2556). การคิดอย่างเป็นระบบ: การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน (ฉบับปรับปรุง) นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
มกราพันธ์ จูฑะรสก และอณิษษฐา จูฑะรสก. (2559). การสะท้อนคิด: กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบเชิงสร้างสรรค์ด้วยตะกร้า 3 ใบ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชัน จำกัด.
มารุต พัฒผล.(2558). การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 3 (ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเนื้อหาสาระ) กรุงเทพฯ. จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์จำกัด.
วาสนา หลวงพิทักษ์, สุภาวดี นพรุจจินดา, วิรงค์รอง ชมภูมิ่ง และพิศิษฐ์ พลธนะ. (2563). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาของรูปแบบการเตรียมความพร้อม BSCI-MODEL ต่อการสอบวัดการศึกษานำร่องรูปแบบการเตรียมความพร้อมด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อผลการสอบความรู้รวบยอดทางการพยาบาลรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ของสถาบันพระบรมราชชนก. สุพรรณุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี.
วิภาดา คุณาวิกติกุลม อารีวรรณ กลั่นกลิ่น รัตนาวดี ชอนตะวัน และสุปราณี อัทธเสรี. (2555). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลการสอบขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. วารสารสภาการพยาบาล.27(3), 12-28.
ศริญญา คงอยู่. (2560). ปัจจัยทำนายผลการสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ของบัณฑิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 18(2), 228-237.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์พ.ศ. 2552. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2563 จาก http://www.mua. go.th/users/tqf-hed/news/FilesNews/FilesNews6/ nursing_m1.pdf.
Banathy, B. H. (1991). Systems Design of Education: A Journey to Create the Future. Englewood Cliffs, N.J.: Educational Technology Publications.
Cohen, W. M., & Levin, R. C. (1989). Empirical studies of innovation and market structure. In R. Schmalensee & R. Willig (Eds.), Handbook of Industrial Organization (Vol. 2, pp. 1059-1107): Elsevier.
Dyer, J. H., Hal B. G., & Clayton M. C. (2011). The Innovator's DNA: Mastering the Five Skills of Disruptive Innovators. Boston, MA: Harvard Business Press.
Fleming, N. (2008). VARK: A guide to learning styles. [Online], Available: http://www.varklearn.com/english/index.asp. com, access on (2020, 28 January)
Fleming, N. (2010). VARK Classification of Learning Styles. [Online], Available: http://www.vark-learn.com, access on (2020, 28 January)
Kolb, A. & Kolb, D. A. (2005). The Kolb Learning Style Inventory – version 3.1 2005 Technical Specifications. [Online], Available: http://www.learning fromexperience.com, access on (2020, 28 January)
Schon, D. (1987). Educating the Reflective Practitioner. San Francisco: Jossey-Bass.
Wagner, T., & Compton, R. A. (2015). Creating innovators: The making of young people who will change the world (First Scribner trade paperback). Scribner.
Wittrock, M.C. (1974). Learning as a Generative Process. Educational Psychologist 11: 87–95.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์