การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง รำมังคละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
รำมังคละ, หลักสูตรท้องถิ่น, การพัฒนาหลักสูตรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องรำมังคละ 2) ศึกษา ผลการใช้หลักสูตร และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตร ดำเนินการวิจัยแบบ One group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดหนองผา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 1 ห้องเรียน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 รวม 43 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องรำมังคละ จำนวน 3 หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกจำนวน 4 แผน 8 ชั่วโมง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.77, S.D.= 0.20)แบบทดสอบ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.89 แบบประเมินทักษะปฏิบัติมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 และแบบสอบถามความพึงพอใจ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบไม่อิสระจากกัน (t-test Dependent)
ผลการศึกษา พบว่า 1) หลักสูตรท้องถิ่นเรื่องรำมังคละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีองค์ประกอบ ได้แก่ วิสัยทัศน์ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักการ จุดมุ่งหมาย ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้ ตารางวิเคราะห์การเรียนรู้และเวลาเรียน สาระการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา จุดประสงค์การเรียนรู้ แนวทางการจัดการเรียนรู้ สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล เนื้อหาของหลักสูตรแบ่งออกเป็น 3 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ หน่วยที่ 1 ความเป็นมามังคละควรศึกษา หน่วยที่ 2 องค์ประกอบนำพาช่างสร้างสรรค์ และหน่วยที่ 3 ลีลาเลิศล้ำงามอย่างไทยใช้เวลาเรียน 8 ชั่วโมง ผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรอยู่ในระดับมาก ( = 4.77, S.D.= 0.20) 2) เมื่อนำหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องรำมังคละไปใช้พบว่า ด้านความรู้ของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีทักษะปฏิบัติ คิดเป็นร้อยละ 97.37 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.92, S.D. = 0.25)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. (2558). คู่มือการจัดการเรียนรู้ “Active Learning” (AL) for Huso at KPRU. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
พรรษาศิริ บุญคุ้ม. (2562). การพัฒนาหลักสูตรนาฏศิลป์ร่วมสมัย : ลีลานาฏยนักรบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
พิชยา ถาบุตร. (2558). การพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเรื่องระบำภูไทแปดเผ่า สำหรับนักเรียนชุมนุมดนตรี-นาฏศิลป์. วารสาร มทร. อีสาน. 2(2): 58-69.
สง่า สู้ณรงค์. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของศึกษาธิการอำเภอตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ และความพึงพอใจของข้าราชการ สำนักงานศึกษาธิการในเขตการศึกษา 7. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สายหยุด ภูปุย. (2555). โครงการตำราเฉลิมพระเกียรติ60 พรรษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร: ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (ม.ป.ป.). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์