องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และประสิทธิผลของรัฐบาลที่มีอิทธิพลต่อความสุขมวลรวมประชาชาติ

ผู้แต่ง

  • กัมลาศ เยาวะนิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ, ความสุขมวลรวมประชาชาติ

บทคัดย่อ

     บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และ ธรรมาภิบาลมีต่อความสุขมวลรวมประชาชาติ และเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมให้เกิดความสุขมวลรวมประชาชาติ ประชากรการของการวิจัยคือประเทศ/เขตการปกครอง จำนวน 133 ประเทศ/เขตการปกครอง ข้อมูลในการวิจัยประกอบไปด้วยข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประชากร การควบคุมการคอร์รัปชั่น ประสิทธิผลของรัฐบาล และความสุขมวลรวมประชาชาติ ซึ่งทั้งหมดเป็นข้อมูลที่รวบรวมโดยองค์การระหว่างประเทศ และองค์กรที่มีเครือข่ายการสำรวจทั่วโลก ผู้เขียนวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้โดยการวิเคราะห์ความถดถอย เพื่อเปรียบเทียบว่า ตัวแปรอิสระมีอำนาจในการอธิบายตัวแปรตามได้มากน้อยเพียงใด
     ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าตัวแปรที่สามารถอธิบายความสุขมวลรวมประชาชาติได้มากที่สุด ได้แก่ ประสิทธิผลของรัฐบาล ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประชากร และ การควบคุมการคอร์รัปชั่น

References

ชนินทร์ นาทะพันธุ์ และ กิตติมา เมฆาบัญชากิจ. (2555). การศึกษาดัชนีความสุขมวลรวม ในประเทศไทยทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 4(1): 29-38.

Clark, A. E., Senik, C. (2011). Will GDP growth increase happiness in developing countries?. IZA Discussion Paper No. 5595, Institute for the Study of Labor. March 2011 (1-73). Bonn: Institute for the Study of Labor.

Cuijpers, R. J. E. (2009). GDP and Happiness: Gross National Happiness, the new GDP?. Master of Economics in Entrepreneurship, Strategy and Organization Economics, Erasmus University Rotterdam.

Degutis, M., Urbonavičius, S. & Gaižutis, A. (2010). Relationship between GDP and Live Satisfaction in the European Union. Ekonomika. 89(1): 9-21.

Easterlin, R. (1974). Does Economic Growth Improve the Human Lot? Some Empirical Evidence. In Nations and Households in Economic Growth: Essays in Honor of Moses Abramowitz. (pp. 89-125). New York: Academic Press.

Easterlin, R. (2013). Happiness, growth, and public policy. IZA Discussion Paper No. 7234, Institute for the Study of Labor. February 2013 (1-50). Bonn: Institute for the Study of Labor.

Kula, M. C., Panday, P., Mantia, K. (2010). Real GDP, Well-being, and Happiness, International Journal of Arts and Sciences. 3(7): 431-443.

The World Bank. (n.d.). GDP (current US$). [Online], Available: https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.CD. (2021, 20 April).

The World Bank. (n.d.). GDP per capita (current US$). [Online], Available: https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD (2021, 21 April).

The World Bank. (2021). Worldwide Governance Indicators. [Online], Available: http://info.worldbank.org/governance/wgi/. (2021, 18 January).

The World Bank. (n.d.). Worldwide Governance Indicators - FAQ. [Online], Available: http://info.worldbank.org/governance/wgi/Home/FAQ. (2021, 18 January).

World Happiness Report. (2021). World happiness report archive. [Online], Available: https://worldhappiness.report/archive/. (2021, 16 February).

World Happiness Report. (2021). World happiness - FAQ. [Online], Available: https://worldhappiness.report/faq/. (2021, 16 February).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2022