การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาครูผู้สอน ด้วยกลยุทธ์ห่วงโซ่คุณค่าสู่ความสำเร็จของห้องเรียน 3Ds เสริมสร้าง ผู้เรียนให้เห็นคุณค่าการพัฒนาชุมชนรองรับความเป็นพลเมืองดี ในสังคมอนาคต สำหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • เลอลักษณ์ โอทกานนท์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • สุพจน์ ทรายแก้ว วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • นารี คูหาเรืองรอง โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, กลยุทธ์ห่วงโซ่คุณค่า, ห้องเรียน 3 Ds, การพัฒนาชุมชน, ความเป็นพลเมืองดี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบกลยุทธ์ห่วงโซ่คุณค่าสู่ความสำเร็จของห้องเรียน 3Ds ร่วมกับการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 2) พัฒนาครูผู้สอนให้มีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาชุมชน และ 3) เสริมสร้างผู้เรียนให้เห็นคุณค่าการพัฒนาชุมชนรองรับความเป็นพลเมืองดีในสังคมอนาคต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประธานชุมชน จำนวน 66 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 19 คน ครูผู้สอน จำนวน 80 คน นักเรียนจำนวน 235 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 400 คน ในสังกัดเทศบาลนครรังสิต ปีงบประมาณ 2564 ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินการพัฒนารูปแบบกลยุทธ์ห่วงโซ่คุณค่าสู่ความสำเร็จของห้องเรียน 3Ds ร่วมกับการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบกลยุทธ์ห่วงโซ่คุณค่า สู่ความสำเร็จของห้องเรียน 3Ds ร่วมกับการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาชุมชนของครูผู้สอนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยแบบประเมินการพัฒนารูปแบบกลยุทธ์ห่วงโซ่คุณค่าสู่ความสำเร็จของห้องเรียน 3Ds ร่วมกับการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีผลการประเมินความสอดคล้องได้ค่าระหว่าง 0.78-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.83 แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบกลยุทธ์ห่วงโซ่คุณค่า สู่ความสำเร็จของห้องเรียน 3Ds ร่วมกับการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.35-0.62 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.32-0.81 ค่าความเชื่อมั่น 0.82 และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาชุมชนของครูผู้สอน มีผลการประเมินความสอดคล้องได้ค่าระหว่าง 0.78-1.00
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการพัฒนารูปแบบกลยุทธ์ห่วงโซ่คุณค่าสู่ความสำเร็จของห้องเรียน 3Ds ร่วมกับ การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่ามีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก และระดับความสำเร็จ การพัฒนารูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.51, S.D. = 0.48) ประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะต้นน้ำ การอบรมปฏิบัติการ ประกอบด้วย 5 โมดูล ระยะกลางน้ำ การนิเทศกำกับติดตามผ่านกระบวนการสอนแนะโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานนำไปสู่ห้องเรียน 3Ds ได้แก่ แผนการสอนดี ครูสอนดี และเด็กคุณภาพดี และระยะปลายน้ำ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สะท้อนคิด
2. ผลการพัฒนาครูผู้สอนให้มีทักษะการจัดการการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาชุมชน พบว่า 1) ครูมีความสามารถออกแบบแผนจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}= 4.51, S.D. = 0.52) 2) ครูมีความสามารถจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาชุมชน อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.45, S.D. = 0.50) และผลการทดสอบความรู้หลังการใช้รูปแบบ ครูร้อยละ 78.75 มีผลการทดสอบอยู่ในระดับดีมาก
3. ผลการเสริมสร้างผู้เรียนให้เห็นคุณค่าการพัฒนาชุมชนรองรับความเป็นพลเมืองดีในสังคมอนาคตจากการประเมินผลงานวรรณกรรมพลเมืองดีของผู้เรียน พบว่า โดยรวมผู้เรียนเห็นคุณค่าอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{X} =  2.67, S.D. = 0.40) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับดีทุกด้าน ได้แก่ ด้านความเป็นนักพัฒนาชุมชน (gif.latex?\bar{X} = 2.72, S.D. = 0.38) ด้านการเห็นคุณค่าของการพัฒนาชุมชน (gif.latex?\bar{X} = 2.67, S.D. = 0.41) และด้านทักษะในสังคมอนาคต (gif.latex?\bar{X} = 2.61, S.D. = 0.40) และผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาชุมชนของครูผู้สอนในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.54, S.D. = 0.47) (gif.latex?\bar{X}= 4.66, S.D. = 0.45)

References

จันทนา บุญญานุวัตร์. (2549). องค์ประกอบที่สัมพันธ์กับคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองดี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

บุญส่ง นาแสวง. (2560). การเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองดีของเยาวชนตามหลักพุทธธรรมของพระสอนศีลธรรม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

พระหมี ถิรจิตฺโต (สีทน). (2561). การพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านหนองเอาะ อำเภอตระการพืชผลจังหวัดอุบลราชธานี. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2564). การพัฒนาหลักสูตร: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิทยากร เชียงกูล. (2559). รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2557-2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: ดีการพิมพ์.

ศราวุฒิ วิสาพรม, วชิรวัตติ์ อาริยะสิริโชติ และวนิดา เสาสิมมา. (2562). การวิเคราะห์การสร้างพลเมืองเพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตยจากฐานราก: กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง. 9(3), 1-23.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. (2562). คู่มือนิเทศภายในโรงเรียน. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://docs.google.com/viewer?a=v&pid=sites&srcid=c2Vjb25kYXJ5MTEuZ28udGh8d3d3fGd4OjU1OWY5MGZhMWU3YmRkYzE (2564, 25 ธันวาคม)

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สำนักทดสอบ ทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานเทศบาลนครรังสิต. (2563). แผนการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2564. ปทุมธานี: ฝ่ายแผนและงบประมาณ สำนักงานเทศบาลนครรังสิต.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). รายงานผลการดำเนินงานขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองในช่วง พ.ศ. 2552-2554. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.

สิน พันธุ์พินิจ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สุทธิรักษ์ โรจนหัสดิน เรชา ชูสุวรรณ และเอกรินทร์ สังข์ทอง. (2560). หลักคิดสำคัญของการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 28(1), 207-217.

Best, J. W. (1981). Research in Education. New Jersey: Prentice - Hall.

Kemmis, S., & R. McTaggart. (1998). The Action Research Planner. Geelong: Deakin University Press.

Porter, M. E. (1985). Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance. New York: Free Press.

Smith, M. E. (1997). Understanding Sustainability Through the Lens of Egocentric Radical-Reflexivity: Implications for Management Education. February. 2019. Journal of Business Ethics, 154(3) DOI:10.1007/s10551-016-3420-3.

Stringer, E. T. (2007). Action Research. (3th ed.). London: Sage Publications Asia-Pacific.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022