สมรรถนะสำคัญของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายตามกรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • เมษา นวลศรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • กุลชาติ พันธุวรกุล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

สมรรถนะสำคัญ, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, การศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับสมรรถนะสำคัญของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายตามกรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) เปรียบเทียบสมรรถนะสำคัญของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายตามกรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามตัวแปรเพศ กลุ่มสายการเรียน และระดับชั้น ตัวอย่างการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 473 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงโดยคำนวณจากค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงสรุปอ้างอิง ได้แก่ t-test for independent sample และ F-test ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมีสมรรถนะสำคัญโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับสูงเช่นกัน โดยเรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ด้านการรวมพลังทำงานเป็นทีม และ ด้านการจัดการตนเอง ตามลำดับ 2) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย มีสมรรถนะสำคัญไม่แตกต่างกันตามเพศ และระดับชั้น แต่นักเรียนที่เรียนสายการเรียนวิทยาศาสตร์มีสมรรถนะสำคัญสูงกว่ากลุ่ม สายการเรียนศิลปศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2564). จำนวนนักเรียนทั้งหมดแบ่งตามระดับชั้น. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: https://isee.eef.or.th/screen/studentdata/student.html. (2565, 21 กุมภาพันธ์).

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (ม.ป.ป.). รายงานพันธกิจด้านการปฏิรูปการศึกษา ผ่านหลักสูตรและการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: https://www.thaiedreform.org/wp- content /uploads /2019/08/Core_competency_11.pdf. (2565, 20 กรกฎาคม).

เฉลิมชัย พันธ์เลิศ. (2553). สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน สำคัญอย่างไร. วารสารวิชาการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 13(5): 51-57.

ไชยา ภาวะบุตร. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบการจัดการการศึกษาของประเทศบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ ตะวันออก-ตะวันตก: ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศไทย. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 4(16): 23-34.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). การกำหนดขนาดตัวอย่าง และสถิติวิเคราะห์ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ. เอกสารประกอบการบรรยาย ‘Twilight Program’ การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2555 (Thailand Research EXPO 2012) ณ ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิร์ล ราชประสงค์ กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2555.

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แววตา เตชาทวีวรรณ และอัจศรา ประเสริฐสิน. (2559). การประเมินการรู้ดิจิทัลของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสารสนเทศศาสตร์. 34(4): 1-28.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 2. (2563). หลักสูตรฐานสมรรถนะ. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://chaisri-nites.hi-supervisory5.net/home/smrrthna. (2565, 25 พฤษภาคม).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (หลักสูตรฐานสมรรถนะ). (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: https://cbethailand.com/. (2565, 26 พฤษภาคม).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2547). Career development in practice. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

Best, J. W., & Kahn, J. V. (2006). Research in education. (10 th ed.). New Delhi: PHI Learning Private.

Cohen, J. (1992). Quantitative methods in psychology: a power primer. Psychological Bulletin. 112(1): 155-159.

Cristobal, E., Flavián, C., & Guinaliu, M. (2007). Perceived e-service quality (PeSQ) Measurement validation and effects on consumer satisfaction and web site loyalty. Managing service quality: An international journal. 17(3): 317-340.

Nunnally, J. C. (1967). Psychometric theory. New York: McGraw-Hill.

Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory. (3rd ed.). New York: McGraw Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022