การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าอาหารจากภูมิปัญญาและทุนวัฒนธรรมมอญ จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • อัจฉราวรรณ สุขเกิด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • วรุณี เชาวน์สุขม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์, การเพิ่มมูลค่าอาหารมอญ, ทุนวัฒนธรรมมอญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิปัญญาและทุนวัฒนธรรมมอญ ในจังหวัดปทุมธานี และ 2) ศึกษาการพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าอาหารมอญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนมไทย และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตับผักชี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม คือ การสัมภาษณ์ (Interview) และเทคนิค A-I-C ระชุมระดมความคิดเห็นจากประธานกรรมการ และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 6- 12 คน ประกอบด้วย นักวิจัย 2 คน ผู้ช่วยนักวิจัย 1 คน ประธานกลุ่ม 1 คน สมาชิกกลุ่ม 6 และประชาชน 2 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภูมิปัญญาและทุนวัฒนธรรมมอญ ในจังหวัดปทุมธานี พบว่า การทำอาหารหรือขนม อยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ยึดถือปฏิบัติมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึง การสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มเครือญาติ มีความเหนียวแน่นช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างกัน ส่งผลให้เกิดความสามัคคี มีการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมและพัฒนาชุมชน
2. การพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าอาหารมอญ พบว่า การคิดสร้างสรรค์ในการเพิ่มมูลค่าให้ใช้โทนสีแดงและส้ม ผลิตภัณฑ์มีเอกลักษณ์จะได้รับความสนใจ ทั้งรูปแบบผลิตภัณฑ์และรสชาติ

References

กุลชลี พวงเพ็ชร์ และคณะ. (2564). การพัฒนาตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ และป้ายฉลาก ผลิตภัณฑ์ ซอสกระท้อนแบบมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านงิ้วราย อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่. 22(2), 211-228.

ฉัตรชัย อินทสังข และคณะ. (2564). การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ข้าว: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวฮางงอกโพธิ์กลาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศิลปศาสตรและวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 8(2), 63-75.

ชวดี โกศล. (2561). การบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. 6(2), 64-73.

ณัฐชา ลี้ปัญญาพร. (2563). การศึกษาทุนทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์ลาวครั่ง ในมิติการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน บ้านทุ่งสีหลง อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปรียานุช อุทัยรัศมี. (2562). ผลของกระบวนการระดมพลังสร้างสรรค์ชุมชน (AIC) ต่อทัศนคติและความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ของวัยรุ่นชายในสถานสงเคราะห์. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วริศรา สมเกียรติกุล และกมล เรืองเดช. (2564). การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวหอมไชยา พันธุ์พื้นเมืองในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 16(56), 31-42.

วรุณี เชาวน์สุขุม และคณะ. (2561). งานวิจัย เรื่อง ทุนวัฒนธรรมด้านอาหารมอญ จังหวัดปทุมธานี เพื่อพัฒนาสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

วงศ์ธีรา สุวรรณิน. (2563). แนวทางการเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชนบนรากฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น อย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนต้นแบบในจังหวัดหนองคาย. วารสาร BU ACADEMIC REVIEW มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 19(1),109-127.

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. (2559). ประวัติความเป็นมา. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://district.cdd.go.th/samkhok/. (2564, 25 ธันวาคม)

อัญธิชา มั่นคง. (2560). บทบาทของทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนกรณีศึกษาชุมชนในตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 12(39), 90-100.

อนันต์ สุนทราเมธากุล ภิมภ์วิมล ปรมัตถ์วรโชติ ฐิติพร อุ่นใจ และวันวิสา มากดี. (2564). การพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มผู้สูงอายุชุมชนคำครตา อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร เพื่อเพิ่มความสามารถทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 8(1), 1-13.

Tsung Huang, Y., & Chu, W. (2010). Enhancement of product development capabilities of OEM suppliers: Inter- and intra-organizational learning. Journal of Business & Industrial Marketing. 25(2), 147-158.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022