การจัดการทรัพยากรมนุษย์และความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมไฟฟ้า จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
การจัดการทรัพยากรมนุษย์, ความเป็นอยู่ที่ดี, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมไฟฟ้า จังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมไฟฟ้า จังหวัดปทุมธานี และ 3) ศึกษาการการจัดการทรัพยากรมนุษย์และ ความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมไฟฟ้า จังหวัดปทุมธานี ประชากร คือ หัวหน้างานและพนักงานที่ทำงานฝ่ายผลิต ในโรงงานอุตสาหกรรมไฟฟ้า จังหวัดปทุมธานี เก็บข้อมูลจากโรงงานอุตสาหกรรมไฟฟ้า จังหวัดปทุมธานี รวม 197 แห่ง การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ ได้โรงงานอุตสาหกรรมไฟฟ้า 35 แห่ง คำนวณขนาดตัวอย่างตามสูตรของ วิลเลี่ยม เจมเมลล์ โคชราน ซึ่งเป็นวิธีคำนวณแบบไม่ทราบจำนวนประชากร ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน และได้เก็บข้อมูลจากบุคลากรโรงงานอุตสาหกรรมไฟฟ้า โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย แห่งละ 11 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ค่าดัชนีความสอดคล้อง มีค่า 0.95 และค่าความเชื่อมั่น 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ
ผลการศึกษาพบว่า
1. พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมไฟฟ้าจังหวัดปทุมธานีให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานและประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน เฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานทางบวก ในระดับปานกลาง (r = .62) มีความสัมพันธ์กับความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานทางบวกในระดับสูง (r = .76) และมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมไฟฟ้า จังหวัดปทุมธานี ทางบวกในระดับสูง (r = .72) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. การจัดการทรัพยากรมนุษย์และความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมไฟฟ้า จังหวัดปทุมธานี มีผลศึกษาดังนี้
3.1 การจัดการทรัพยากรมนุษย์ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงบวก (β = 0.62, Sig < .01) ค่า R เท่ากับ .62 ค่า R2 เท่ากับ .38 ค่าการพยากรณ์ ร้อยละ 38.4
3.2 การจัดการทรัพยากรมนุษย์ส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงบวก (β = 0.76, Sig < .01) ค่า R เท่ากับ .76 ค่า R2 เท่ากับ .57 ค่าการพยากรณ์ ร้อยละ 57.4
3.3 ความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงบวก (β = 0.72, Sig < .01) ค่า R เท่ากับ .72 ค่า R2 เท่ากับ .52 ค่าการพยากรณ์ ร้อยละ 52.0
References
กิตติกร เขื่อนเพ็ชร. (2559). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานไปรษณีย์ บริษัทไปรษณีย์ จำกัด. วารสารวิจัยธุรกิจและการจัดการ เพื่อความเป็นเลิศ. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.excmba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2562-1-2_1590308400.pdf
เขมจิรา บุตรธิยากลัด และพนิดา นิลอรุณ. (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความผูกพันในองค์การของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัท โตโยด้า โกเซ (ประเทศไทย) จำกัด. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ. 2(มกราคม-ธันวาคม): 67-78.
นรเศรษฐ วาสะศิริและณฐวัฒน์ พระงาม. (2559). การจัดการทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในมหาวิทยาลัยพิษณุโลก. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ. 185-195.
สุดารัตน์ สะโดอยู่ และ แสงจิตต์ ไต่แสง. (2565). ปัจจัยในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เอลเลค แอนด์เอลเทค (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัด ปทุมธานี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 24(2): (พฤษภาคม-สิงหาคม): 1-10.
ทำเนียบโรงงานอุตสาหกรรม. (2564). ข้อมูล ณ วันที่ 10 มกราคม 2564 www.industry.go.th
Allameh, S. M., Barzoki, A. S., Ghazinour, S., Khodaei, S. A., & Abolghasemian, M. (2014). Analyzing the effect of Employee Engagement on job performance in Isfahan Gas Company. International Journal of Management Academy. 2(4): 20-26.
Sparrow, P., Brewster, C., & Harris, C. (2004). Globalizing human resource management. New York: Routledge.
Pasaoglu, D. (2015). Analysis of The Relationship Between Human Resources Management Practices and Organizational Commitment from Strategic Perspective: Finding From The Banking Industry. 11th International Strategic Management Conference. Procedia Social and Behavioral Sciences 207(2015), 315-324.
Uslu, T. (2015). innovation Culture and Strategic Human Resource Management in Publicand Private Sector Within The Framework Of Employee Ownership. World Conference on Technology, innovation and Entrepreneurship. Procedia Social and Behavior Sciences. 195(2015): 1463-1470.
Wright, T. A., & Cropanzano, R. (2000). Psychological well-being and job satisfaction as predictors of job performance. Journal of Occupational Health Psychology. 5(1): 84-94.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สุจิตรา แนใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์