ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชันของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา, ยุคดิจิทัลดิสรัปชันบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลดิสรัปชัน 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชัน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชันของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่ ประชากรในการวิจัยคือผู้บริหาร และครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา ทั้ง 16 โรงเรียน จำนวน 719 คน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครู โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บข้อมูลได้ จำนวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลดิสรัปชันมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 และประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชันมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ อย่างง่ายของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยภาพรวมทั้ง 6 ด้านของภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัล ดิสรัปชันของผู้บริหารและครูอยู่ในระดับมาก ( = 4.27, S.D.) 2) ค่าเฉลี่ยภาพรวมทั้ง 5 ด้านของประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชันของผู้บริหารและครูอยู่ในระดับมาก ( = 4.29, S.D. = 0. 66) และ 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา ในยุคดิจิทัลดิสรัปชันของโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันในระดับสูงมาก (r = 0.907) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. ออนไลน์: http://www.ops.moe.go.th/ops2017/attachments/article/5669/Image030120090930.pdf, สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564
กันตพัฒน์ มณฑา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 8(2): 289-296.
ชีวิน อ่อนละออ, สุชาติ บางวิเศษ, กานนท์ แสนเภา, และสวิตา อ่อนลออ. (2563). ภาวะผู้นำ ยุคดิจิทัลสำหรับนักบริหารการศึกษา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 10(1): 108-119.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2552). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย ฉบับปรับปรุง. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.
ต้องลักษณ์ บุญธรรม. (2559). การเป็นผู้นำยุคเศรษฐกิจดิจิทัลกับการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร ทางการศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 7(1): 217-225.
ทินกร บัวชู และทิพภาพร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์สารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 13(2): 285-294.
ทิพวรรณ สำเภาแก้ว. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปทุมพร เปียถนอม. (2563). ภาวะผู้นำทางการศึกษายุคการแทนที่ด้วยสิ่งใหม่กับทิศทาง การศึกษาไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. 10(3): 115-123.
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2561). เปลี่ยนมุมมองการบริหารองค์กรการศึกษาในโลก Disruptive. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 8(2): 248-256.
ไพศาล วรคำ. (2564). การวิจัยทางการศึกษา (Educational Research). (พิมพ์ครั้งที่ 12). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
วิมาลย์ ลีทอง. (2563). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สมพร ปานดำ. (2563). พลิกวิกฤตสู่โอกาสของอาชีวศึกษาไทยบนความปกติใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5(7): 1-13.
สันติธาร เสถียรไทย. (2563). ดิสรัปชัน คือเสียงที่เราไม่ได้ยิน. ออนไลน์: https://thestandard.co/disruption-sounds-that-we-cant-hear/, (2564, 8 มิถุนายน).
สุภวัช เชาวน์เกษม, วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์ และสุดารัตน์ สารสว่าง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา. 3(3): 85-99.
สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ, ศิรินทิพย์ กุลจิตรตรี และโกวิท จันทะปาละ. (2563). แนวทางการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น. Journal of Modern Learning Development. 5(3): 245-259.
Supising, J., Puthaprasert, C., Musikanon, C., Poungkaew, P., & Kosanpipat, S. (2020). COVID-19 and Disruption in Management and Education Academics. Interdisciplinary Research Review. 16(2): 19-25.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 พิชินาถ กุมภวรรณ, หยกแก้ว กมลวรเดช, สุกัญญา รุจิเมธาภาส
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์