ความต้องการจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ทศพล ศิลลา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี
  • เสริมทรัพย์ วรปัญญา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี
  • ภูวดล จุลสุคนธ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น, การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, วิทยาลัยอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพจริงที่เป็นอยู่และสภาพที่ควรจะเป็น ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารวิทยาลัย 2) หาค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารวิทยาลัย และ 3) เปรียบเทียบสภาพจริงที่เป็นอยู่ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารวิทยาลัย จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา ประเภทของวิทยาลัยและประสบการณ์ในการบริหารวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร และครูในวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดลพบุรี จำนวน 279 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น มีค่าความเชื่อมั่น 0.979 วิเคราะห์ข้อมูลรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีเรียงลำดับความต้องการจำเป็น การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพจริงที่เป็นอยู่ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารวิทยาลัย อยู่ในระดับมากทุกด้านคือ 1) ด้านฝ่ายบริหารทรัพยากร (gif.latex?\bar{X}gif.latex?\bar{X} = 4.09, S.D. = 0.66) 2) ด้านฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ (gif.latex?\bar{X} = 4.12, S.D. = 0.66) 3) ด้านฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา (gif.latex?\bar{X} = 4.18, S.D. = 0.60) และ 4) ด้านฝ่ายวิชาการ (gif.latex?\bar{X} = 4.23, S.D. = 0.61) ส่วนสภาพที่ควรจะเป็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน ยกเว้นด้านฝ่ายวิชาการอยู่ในระดับมากที่สุดคือ 1) ด้านฝ่ายบริหารทรัพยากร (gif.latex?\bar{X} = 4.41, S.D. = 0.48) 2) ด้านฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ (gif.latex?\bar{X} = 4.49, S.D. = 0.51) 3) ด้านฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา (gif.latex?\bar{X} = 4.41, S.D. = 0.52) และ 4) ด้านฝ่ายวิชาการ (gif.latex?\bar{X} = 4.57, S.D. = 0.70)
2. จัดลำดับความต้องการจำเป็นของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารวิทยาลัย ได้ดังนี้ 1) ด้านฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ (PNImodified=0.0898) 2) ด้านฝ่ายวิชาการ (PNImodified=0.0804) 3) ด้านฝ่ายบริหารทรัพยากร (PNImodified=0.0782) และ 4) ด้านฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา (PNImodified=0.0550)
3. ผลการเปรียบเทียบสภาพจริงที่เป็นอยู่ในภาพรวมแตกต่างกันเมื่อจำแนกตาม เพศ ประเภทวิทยาลัย ประสบการณ์ในการบริหารวิทยาลัย

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระยะ พ.ศ. 2554-2563 ของประเทศไทย ICT2020. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

ครรชิต มาลัยวงศ์. (2543). ทัศนะไอที. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.

ชนิดา เรืองศิริวัฒนกุล. (2554). การพัฒนาระบบประเมินการสอนออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยใช้เทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส. กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2542). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ Management information systems. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

พฒศ์ศิวพิศ โนรี. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารงาน เทคโนโลยีสารสนเทศในสถาบันการอาชีวศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 15(2), 16.

พิรญารณ์ บุญญสถิตย์. (2553). ทัศนคติของผู้ใต้บังคับบัญชาต่อผู้บังคับบัญชาที่เป็นสตรี. วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 32(126), 85.

เรณู จันทพันธ์. (2557). การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนแสนสุขสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). รายงานประจำปี 2562 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อดิศร สินประสงค์. (2561). อาชีวะเอกชนขอสิทธิจัดการศึกษาเท่ารัฐ. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก:https://d.dailynews.co.th/education/624040. (2565, 7 เมษายน).

Heller, T. (1982). Women and Men as Leaders: in Business, Educational and Social Service Organizations. New York: Praeger.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis . (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022