การจัดป้ายนิเทศสำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • พนิดา ชาตยาภา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • นันทิยา รักตประจิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ศศิธร จันทมฤก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ป้ายนิเทศ, ชั้นเรียนปฐมวัย

บทคัดย่อ

ป้ายนิเทศเป็นสื่อการเรียนการสอนที่สำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้และการสื่อสารกับบุคคลต่าง ๆ ช่วยเร้าความสนใจในการเรียนรู้ ช่วยทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมกลายเป็นรูปธรรม ช่วยให้เกิดแนวความคิดตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ จึงถือได้ว่าป้ายนิเทศคือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก หลักการจัดป้ายนิเทศในชั้นเรียนปฐมวัยจึงต้องคำนึงถึงพัฒนาการและหลักการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็ก การจัดป้ายนิเทศควรตั้งวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนเพื่อให้ป้ายนิเทศเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้หรือข้อมูลต่าง ๆ จากผู้สอนไปสู่เด็ก ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ลักษณะของ ป้ายนิเทศในชั้นเรียนปฐมวัยจึงเชื่อมโยงกับกิจวัตร กิจกรรมประจำวัน และสาระที่เด็กเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ให้แก่เด็ก เช่น การส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาด้วยการจัดป้ายนิเทศทบทวนสิ่งที่เด็กเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมาและป้ายนิเทศสิ่งที่เด็กเรียนรู้ในสัปดาห์ปัจจุบัน การส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ด้วยการจัดป้ายนิเทศผลงานเด็กพร้อมชื่อเจ้าของผลงานเพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ รู้จักชื่นชมตนเองและผู้อื่น การส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมด้วยการจัดป้ายนิเทศพฤติกรรมที่ต้องการให้เด็กปฏิบัติ หรือป้ายนิเทศข้อตกลงร่วมกัน การจัดป้ายนิเทศในชั้นเรียนปฐมวัยสามารถออกแบบได้ทั้งติดผนังถาวรและแบบเคลื่อนที่ ควรจัดอยู่ในระดับสายตาของเด็ก ต้องมีความแข็งแรงทนทานเหมาะสมกับการใช้งานและไม่เกิดอันตรายต่อเด็ก ควรใช้ภาพหรือใช้ภาพประกอบคำเพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการอ่านและการเขียนในอนาคต จัดทำให้มีขนาดที่เหมาะสม ใช้สีสดใส มีหัวข้อที่เร้าความสนใจและเชิญชวนให้เด็กอยากมีส่วนร่วม

References

นฤมล เนียมหอม. (2556). หลักการแนวคิดทางการศึกษาปฐมวัย: ประมวลชุดวิชา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สุโขทัยธรรมาธิราช.

วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. ปทุมธานี: สกายบุ๊กส์.

วิวรรธน์ จันทร์เทพย์. (2542). เอกสารการสอน วิชาเทคโนโลยีการศึกษา. ราชบุรี: พิมพ์ลักษณ์.

วีระวัฒน์ วัฒนา. (2542). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน การเขียนสร้างสรรค์ และความคงทนในการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ใช้ป้ายนิเทศประกอบภาพการ์ตูนกับภาพเหมือนจริงเป็นสื่อในการสอน. ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต วิชาเอกการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อังคนา กรัณยาธิกุล. (2559). เอกสารประกอบการสอนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา. ปทุมธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

Arnerich, Matt. (2022). How to Make Your Early Years Displays Work for the Children. จากเว็บไซต์: https://www.famly.co/blog/early-years-displays. (December 13, 2522)

EDUCATION TASK, Admin. (2022). Preschool Bulletin Boards: How Important is it?. จากเว็บไซต์: https://www.educationtask.com/preschool-bulletin-boards.html. (June 17, 2022)

Krunam. (2562). การเตรียมห้องเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย. จากเว็บไซต์: https://www.youngciety.com/article/journal/classroom-management.html. (2562, 22 กันยายน)

Play to Learn Preschool. (2022). Bulletin Board Ideas for the Preschool Classroom. จากเว็บไซต์: https://playtolearnpreschool.us/bulletin-board-ideas/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022