การพัฒนาทักษะการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานสำหรับครูโรงเรียนบางชวดอนุสรณ์

ผู้แต่ง

  • ประพรรธน์ พละชีวะ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ธนัชพร เกรซ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • มณฑา วิริยางกูร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ชัยวัฒน์ อุ้ยปาอาจ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • สิริมาศ แก้วกันทา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การเรียนแบบผสมผสาน, การเรียนแบบโครงงานเป็นฐาน, ทักษะการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานร่วมกับการจัด การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ของครู โรงเรียนบางชวดอนุสรณ์ และ 2) เพื่อพัฒนาทักษะการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ของครู โรงเรียนบางชวดอนุสรณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูโรงเรียนบางชวดอนุสรณ์ จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ รูปแบบการเรียนแบบผสมผสานร่วมกับการจัดการเรียนรู้ แบบโครงงานเป็นฐาน และแบบประเมินทักษะการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ มีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ร่วมกับคณะผู้บริหารของโรงเรียน แล้วนำข้อเสนอแนะที่ได้ไปปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนแบบผสมผสานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ปัญหา ผู้เรียน ผู้สอน และเนื้อหา 2) การสืบค้นข้อมูล การออกแบบแผนการดำเนินงาน และการพัฒนานวัตกรรม 3) การติดตามความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรคในการพัฒนานวัตกรรม 4) การจัดทำรายงานผล และ 5) การนำเสนอผลงาน
2. การพัฒนาทักษะการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบางชวดอนุสรณ์ มีค่าเฉลี่ย 3.86 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 อยู่ในระดับดี

References

กุลธิดา ทุ่งคาใน. (2564). การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning ในวิถี New Normal Blended Learning in a New Normal. ครุศาสตร์สาร. 15(1): 29-43.

มณฑา วิริยางกูร และคณะ. (2564). การพัฒนาชุดการสอน Teacher Tool Kits โดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหว่านบุญ. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 15 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 117 ปี. 17 ธันวาคม 2564. (31-38). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://gened2.cmru.ac.th/ge_learning/src/gen1306/GEN1306-Content3.pdf. (2566, 24 กุมภาพันธ์).

ธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี และปภัชญา สังชาตรี. (2564). 5 รูปแบบสำหรับการจัดการการสอนในสถานการณ์โรคอุบัติใหม่. วารสารวิชาการรัตนบุศย์. 3(3): 66-73.

วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล และมาเรียม นิลพันธุ์. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 11(2): 8-23.

สุดารัตน์ จงบูรณสิทธิ์. (2562). การใช้รูปแบบการสอน ADDIE Model เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีน ให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21. ในการประชุมวิชาการด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ “มนุษย์และสังคมศาสตร์นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม”. ครั้งที่ 2. 5-6 สิงหาคม 2562. (667-679). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ADDIE Model คืออะไร. (2565). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.mindphp.com-what-is-the-addie-model.html. (2565, 5 กันยายน)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-04-2023