แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตข้าวโป่ง : กรณีศึกษาบ้านคลองทราย ตำบลหนองตะเคียนบอน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • หรรษา เวียงวะลัย คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • อิงอร วงษ์ศรีรักษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ศศินันท์ เศรษฐวัฒน์บดี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาท้องถิ่น, แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น, ข้าวโป่ง, การผลิตข้าวโป่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการผลิตข้าวโป่งแบบดั้งเดิม 2) ศึกษากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการผลิตข้าวโป่ง และ 3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตข้าวโป่ง โดยมี การเก็บข้อมูลกลุ่มแม่บ้าน จำนวน 10 คน และกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 5 คน ที่ทำการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง การหาคุณภาพของเครื่องมือ โดยการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ในทุกองค์ประกอบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1) การผลิตข้าวโป่งแบบดั้งเดิมจะมีส่วนผสม คือข้าวเหนียว น้ำตาลทราย และรากกระพังโหม 2) การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตข้าวโป่ง แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ (1) การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (2) การถ่ายทอดโดยการบอกเล่าเรื่องราว และ 3) แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตข้าวโป่ง คือ (1) องค์การบริหารส่วนตำบล ควรเข้ามามีบทบาทสำคัญในส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น (2) จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนของหมู่บ้านเพื่อทำให้เกิดการภูมิปัญญาท้องถิ่น และการนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ (3) ให้ชุมชนมีบทบาทในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

References

เกษตร ทูเดย์. (2565). กระพังโหม พันธุ์ไม้ สารพัดประโยชน์. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://kaset.today.

จินต์ประวีร์ เจริญฉิม และ สิริชัย ดีเลิศ. (2563). กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้สูงอายุสู่ชุมชนและสังคมที่ยั่งยืน. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 33(2): 152-167.

ภริตา สำเภาทอง และอังคณา จันทรพลพันธ์. (2561). รากกระพังโหม: องค์ประกอบทางเคมี กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ และผลต่อคุณสมบัติทางเคมีกายภาพของแป้งข้าวเหนียว กข6. แก่นเกษตร. 46(1), 438-444.

ฤทธิรงค์ แจ้งอิ่ม. (2562). การออกแบบและสร้างเครื่องกดแผ่นข้าวโป่ง กรณีศึกษากลุ่มอาชีพบ้านห้วยยาง. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 12(2), 49-61.

โยธกา กอสมานชัยกิจ. (2564). ประธานกลุ่มทำข้าวโป่งบ้านคลองทราย ตำบลหนองตะเคียนบอน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. สัมภาษณ์, 15 มิถุนายน 2564.

วัฒนาภรณ์ โชครัตนชัย และคณะ. (2561). การผลิตข้าวโป่งผสมผักและผลไม้. Journal of Home Economics. 61(1), 4-19.

วัฒนาภรณ์ โชครัตนชัย และสุกัญญา กล่อมจอหอ. (2560). การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวโป่งให้ได้คุณภาพมาตรฐานของการผลิตอาหารสู่เชิงพาณิชย์ที่ยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 9(1), 8-22.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2564). รู้จักโครงการ U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน. ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.nxpo.or.th/th/8089/

อภิญญา รัตนไชย. (2563). กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำประมงพื้นบ้าน ของชุมชนลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ประเทศไทย. แก่นเกษตร. 48(4): 743-478.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022