ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การสื่อสารของหน่วยงาน สสส. กับแรงจูงใจในการออกกำลังกายของ Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ความสัมพันธ์, กลยุทธ์การสื่อสาร, หน่วยงาน สสส. , แรงจูงใจ, การออกกำลังกาย, เจนวายบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารที่เกี่ยวกับการออกกำลังกายของหน่วยงาน สสส. 2) ศึกษาแรงจูงใจในการออกกำลังกายของ Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การสื่อสารที่เกี่ยวกับการออกกำลังกายของหน่วยงาน สสส. กับแรงจูงใจในการออกกำลังกายของ Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นการคัดเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน คือ เป็นกลุ่ม Gen Y มีอายุช่วง 24 - 42 ปี เป็นผู้ที่กดไลค์เพจเฟซบุ๊กของหน่วยงาน สสส. และอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 175 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับกลยุทธ์การสื่อสารที่เกี่ยวกับการออกกำลังกายของหน่วยงาน สสส. ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.893 และเกี่ยวกับแรงจูงใจในการออกกำลังกายของ Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.891 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่าย เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)
ผลการศึกษาพบว่า 1) กลยุทธ์การสื่อสารของ สสส. เน้นที่ การบริหารประเด็นข่าว อยู่ในระดับมาก ( = 4.08, S.D. = 0.77) เนื่องจากหน่วยงาน สสส. มีลักษณะการสื่อสารด้วยวิธีการเสริมข้อมูลไปที่ประเด็นข่าวเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการออกกำลังกาย 2) แรงจูงใจด้านความมั่นคง อยู่ในระดับมาก ( = 4.03, S.D. = 0.75) เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Gen Y ออกกำลังกาย เพราะต้องการมีสุขภาพแข็งแรง 3) กลยุทธ์การสื่อสารของหน่วยงาน สสส. มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการออกกำลังกายของ Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร ในระดับมาก (r = .644**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
ชัญญา ภัทรพิรุฬห์. (2560). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอ่านของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ชณันภัสร์ ชาติภัทรชัยพัฒน์. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารข้อมูลสุขภาพในสื่อเฟซบุ๊กของโรงพยาบาลศิครินทร์ (กรุงเทพ). การค้นคว้าอิสระ ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ชีวรัตน์ สุขสวัสดิ์. (2554). การสื่อสารสำหรับพยาบาล. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.olearning.siam.edu/2011-11-28-08-10-01/437-100-101-.
ไทยรัฐออนไลน์. (2560). เหตุผลทำให้ขาดการออกกำลังกาย. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.thairath.co.th/newspaper/columns/926474.
พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2548). พลังแห่งภาพลักษณ์. กรุงเทพฯ: ฐานมีเดีย เน็ตเวิร์ค.
ภัคชุดา อำไพพรรณ. (2558). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานต่อสื่อมวลชน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สืบสกุล ใจสมุทร. (2554). แรงจูงใจในการออกกำลังกายของประชาชนในจังหวัดสตูล ปี พ.ศ. 2553. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565). รู้จัก สสส. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/Aboutus.html.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.- G.& Buchner, A. (2007). G*Power.3: A flexible statistical power analysis programe for the social, behavioral, and biomedical science. Behavior Research Methods. 39(2): 175-191.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ณฐชฆล ตันหยงมาศ, พรพรหม ชมงาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์