การศึกษาความเข้าใจ เจตคติและความสนใจต่ออาชีพด้านสะเต็ม ของนักเรียนประถมศึกษา ผ่านกิจกรรมแนะแนวอาชีพโดยผู้เชี่ยวชาญ

ผู้แต่ง

  • ธัญวรัตน์ ปิ่นทอง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ญาตาวี สุขสมเกษม โรงเรียนสินสังวาลย์อุทิศ ตำบลบางยี่โท อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • เพ็ญศรี ชิตะบุตร สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

อาชีพด้านสะเต็ม, ความเข้าใจ, ความสนใจและเจตคติต่ออาชีพ, กิจกรรมแนะแนวอาชีพ

บทคัดย่อ

การพัฒนาเจตคติและความสนใจต่ออาชีพถือเป็นกระบวนการขั้นแรกที่สำคัญสำหรับ การเตรียมคนเข้าสู่โลกแห่งอาชีพ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเข้าใจ เจตคติ และความสนใจเกี่ยวกับอาชีพทางด้านสะเต็ม (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์) ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ภายหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวอาชีพ ด้าน สะเต็มจากผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลกับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ทุกคนที่เรียน อยู่ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แบ่งเป็นเพศหญิง 11 คน และเพศชาย 5 คน รวมทั้งสิ้น 16 คน โดยใช้แบบบันทึกภาคสนามและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสร้างหมวดหมู่ตามกรอบเป้าหมาย จากนั้นแจกแจงความถี่ในแต่ละหมวดหมู่ และสรุปเป็นค่าร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนทุกคน (16 คน ร้อยละ 100) มีเจตคติทางบวกต่ออาชีพ ด้านสะเต็ม และส่วนใหญ่มีความเข้าใจในระดับมากเกี่ยวกับอาชีพทางด้านสะเต็ม (13 คน ร้อยละ 81.25) แต่มีความเข้าใจระดับปานกลางเกี่ยวกับเป้าหมาย และการนำสะเต็มศึกษาไปใช้ (9 คน ร้อยละ 56.25) เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับความสนใจของผู้เรียน ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ มีความสนใจต่อกิจกรรมแนะแนวอาชีพโดยผู้เชี่ยวชาญในระดับมาก (11 คน ร้อยละ 68.75) แต่มีความสนใจต่ออาชีพด้านสะเต็มระดับปานกลาง (7 คน ร้อยละ 43.75) นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ ยังพบว่า นักเรียนที่มีความสนใจต่ออาชีพด้านสะเต็มระดับต่ำ ทั้งหมดเป็นเพศหญิง ส่วนนักเรียน ที่มีความสนใจต่ออาชีพด้านสะเต็มระดับมากทั้งหมดเป็นเพศชาย ซึ่งแสดงให้เห็นอิทธิพลของ ความเชื่อแบบเหมารวมเกี่ยวกับเพศและอาชีพทางด้านสะเต็มที่มีต่อความสนใจและการเลือกอาชีพ ในอนาคตของนักเรียน

References

ชุติมา วิชัยดิษฐ์ และชาตรี ฝ่ายคำตา. (2560). การสำรวจมุมมองการสอนสะเต็มศึกษาของนิสิตครูวิทยาศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 11(3): 165-174

ณัฐพงศ์ จำเนียรผล, วรวุฒิ เพ็งพันธ์, เกรียงศักดิ์ บุญญา และศุภัครจิรา พรหมสุวิชา. (2564). แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศด้านการสร้างหุ่นยนต์สาหรับ ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 5(1): 104-114.

พุทธชาด อังณะกูร, ธิดา ทับพันธ์ และเสมอกาญจน์ โสภณหิรัญรักษณ์. (2563). การวิเคราะห์ความสนใจและเจตคติต่อเนื้อหาและอาชีพด้านสะเต็มของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 14(2): 105-125.

วสพร นิชรัตน์, พนิต เข็มทอง, และปัทมาวดี เล่ห์มงคล. (2562). กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อเสริมสร้างความตระหนักในด้านอาชีพของนักเรียน ระดับประถมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี. 13(2): 58-67.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ [สวทช]. (2563). รายงานประจำปี 2562 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ [สอวช.]. (ม.ป.ป.). ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแต่ทำงานด้านอื่น จำแนกตามอาชีพ ปี 2558 - 2561. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://stiic.sti.or.th/stat/ind-lf/ind-lf-g002/lf-t015/ (2565, 1 กันยายน).

สุภางค์ จันทวานิช. (2559). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bandura, A. (1977). Self-efficacy: toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review. 84(2), 191-215.

Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action. Englewood Cliffs: Prentice Hall.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The Exercise of Control. New York: W H Freeman & Company.

Boddy, C. R. (2016). Sample Size for Qualitative Research. Qualitative Market Research: An International Journal. 19, 426-432.

Bouchrika, I. (2022). STEM Careers: 2023 Guide to Career Paths, Options & Salary. [ออนไลน์], สืบค้นได้จาก: https://research.com/careers/stem-careers (2566, 25 มกราคม).

Christensen, R. & Knezek, G. (2017). Relationship of Middle School Student STEM Interest to Career Intent. Journal of Education in Science, Environment and Health. 3(1), 1-13.

Creswell, J. W. (2013). Research Design: Qualitative, Quantitative, and Mixed Methods Approaches. (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage publications.

Diekman, A. B., Brown, E. R., Johnston, A. M., & Clark, E. K. (2010). Seeking congruity between goals and roles: a new look at why women opt out of science, technology, engineering, and mathematics careers. Psychological Science, 21(8), 1051-1057.

Dykeman, C., Ingram, M. A., Wood, C., Charles, S., Chen, M. Y., & Herr, E. L. (2001). The taxonomy of career development interventions that occur in America's secondary schools. ERIC Document Reproduction Service. [EDO-CG-01-04].

Garriott, P. O., Hultgren, K. M., & Frazier, J. (2016). STEM stereotypes and high school students’ math/science career goals. Journal of Career Assessment. 25(4), 585 - 600.

Holmegaard, H. T., Madsen, L. M., & Ulriksen, L. (2014). To choose or not to choose science: Constructions of desirable identities among young people considering a STEM higher education programme. International Journal of Science Education. 36(2), 186-215.

Kenan Foundation Asia. (2020). เปลี่ยนความรู้ให้เป็นทักษะที่ใช้ได้จริง. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.enjoyscience.kenan-asia.org/Th/about-stem/ (2565, 1 กันยายน).

Kier, M. W., Blanchard, M. R., Osborne, J. W., & Albert, J. L. (2014). The development of the STEM career interest survey (STEM-CIS). Research in Science Education. 44(3), 461-481.

Krajcik, J. (2015). Three-dimensional Instruction using a New Type of Teaching in. the Science Classroom. The Science Teacher. 82(8): 50-52.

Luo, T., So, W. W. M.; Wan, Z. H. & Li, W. C. (2021). STEM stereotypes predict students’ STEM career interest via self-efficacy and outcome expectations. International Journal of STEM Education. 8(Article number: 36): 1-13.

Makarova, E., Aeschlimann, B, & Herzog, W. (2019). The Gender Gap in STEM Fields: The Impact of the Gender Stereotype of Math and Science on Secondary Students’Career Aspirations. Frontiers in Education. 2019(4 Article 60): 1-11.

Oh, Y. J., Jia, Y., Lorentson, M., & La Banca, F. (2013). Development of the educational and career interest scale in science, technology, and mathematics for high school students. Journal of Science Education and Technology. 22(5), 780–790.

Patton, M. Q. (2015). Qualitative research & evaluation methods. (5th ed.). Minnesota: Sage Publications.

Sadler, P. M., Sonnert, G., Hazari, Z., & Tai, R. (2012). Stability and volatility of STEM career interest in high school: a gender study. Science Education. 96(3), 411-427.

Zorlu, F. & Zorlu, Y. (2017). Comparison of Science Process Skills with Stem Career Interests of Middle School Students. Universal Journal of Educational Research. 5(12): 2117 - 2124.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-04-2023