การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านโน้ตดนตรีไทยโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • วรรณณิษา แจ้งงุด วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • ปภาอร แก้วสว่าง วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การอ่านโน้ตดนตรีไทย, ชุดกิจกรรมการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านโน้ตดนตรีไทย โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านโน้ตดนตรีไทย โดยใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนอนุบาลท่าวุ้ง สังกัดสำนักงาน เขตประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 จำนวน 24 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านโน้ตดนตรีไทย ผลการประเมินความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.67) (2) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะ 3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง ผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.71) (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านโน้ตดนตรีไทย เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ ผลการประเมินค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.66 - 1.00 ค่าความยากง่าย (p) 0.58 - 0.96 ค่าอำนาจจำแนก (r) 0.20 - 0.56 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.82 (4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านโน้ตดนตรีไทย โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นแบบประเมินมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผลการประเมินได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.66 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน มีคะแนนก่อนเรียน (gif.latex?\bar{X} = 7.63, S.D. = 2.24) และคะแนนหลังเรียน (gif.latex?\bar{X} = 14.50, S.D. = 3.71) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนน ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านโน้ตดนตรีไทย โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.54, S.D. = 0.25)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระแกนกลางกลุ่มสาระเรียนรู้ศิลปะตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ช่อผกา สุขุมทอง. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ เกมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของโลกระดับประถมศึกษา. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

เชษฐพงศ์ รอตฤดี และคณะ. (2563). ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านดนตรีตามแนวการสอนของออร์ฟและดาลโครซ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนรุ่งอรุณ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์. 7(1) (มกราคม-เมษายน). 133-144.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ดาเรศ เทวโรทร. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดการสอน เรื่อง การอ่านโน้ตดนตรีไทยตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทาริกา สมพงษ์. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง เรื่อง ชนิดและ หน้าที่ของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วาสนา ปิ่นทอง. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลวิธี STAR วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อมราวดี บุตรเสมียน. (2563). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เรารักระยองโดยใช้รูปแบบ ร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022