การศึกษาความพึงพอใจของผู้โดยสารภายในประเทศต่อการให้บริการของท่าอากาศยานดอนเมืองภายใต้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

ผู้แต่ง

  • พลอยวรินทร์ แสงสมบุญ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัฐบุรี
  • วัลภา จันดาเบ้า คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัฐบุรี
  • สุดสวาท จิตร์สุภา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัฐบุรี

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ผู้โดยสารภายในประเทศ, ท่าอากาศยานดอนเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้โดยสารภายในประเทศต่อ การให้บริการของท่าอากาศยานดอนเมืองภายใต้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มผู้โดยสารภายในประเทศที่เคยใช้บริการท่าอากาศยานดอนเมือง ช่วงอายุ 20 - 50 ปี ซึ่งวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเก็บแบบสอบถามเป็นหลัก จำนวน 400 คน จากการคำนวณหาขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 และความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 จากนั้นนำข้อมูลการวิจัยครั้งนี้มาวิเคราะห์ทางสถิติ ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้โดยสารภายในประเทศที่เคยใช้บริการท่าอากาศยานดอนเมือง มีความพึงพอใจในการให้บริการภายใต้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 3.75, S.D. = 0.75) แยกตามรายด้าน เช่น ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า พบว่า ในภาพรวมผู้โดยสารที่ใช้บริการท่าอากาศยานดอนเมืองในการเดินทางภายใต้สถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ด้านการตอบสนองต่อลูกค้าอยู่ในระดับมากมากที่สุด (M = 3.87, S.D. = 0.71) ด้านความเป็นรูปธรรมของการให้บริการ พบว่า ในภาพรวมผู้โดยสารที่ใช้บริการ ท่าอากาศยานดอนเมืองในการเดินทางในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ด้านความเป็นรูปธรรมของการให้บริการอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 3.78, S.D. = 0.72) และ ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจ พบว่า ในภาพรวมผู้โดยสารที่ใช้บริการท่าอากาศยานดอนเมือง ในการเดินทางภายใต้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 3.88, S.D. = 0.77)

References

กตัญญู หิรัญญสมบูรณ์. (2556). การจัดการบริการ. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเก้าคุณทหารลาดกระบัง.

ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต. (2554). คุณภาพการให้บริการมุมมองในเชิงวิชาการ. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/http://www.doet.go.th/files/dynamiccontent/file-155504-1585099915726811225.pdf (2565, 30 ธันวาคม).

นราธิป แนวคำดี กฤษณ์ ทัพจุฬา และดวงใจ อังโก๊ะ. (2562). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของบริษัทพรอมิส (ประเทศไทย) จำกัด สาขาบางแคพลาซ่า กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการ. 6(2): 203-214.

พัชรี อนุสิทธ์ิ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ท่าอากาศยานดอนเมือง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก.

พีระยุทธ์ คุ้มศักดิ์. (2555). “ความพึงพอใจของผู้โดยสารที่มีต่อคุณภาพการบริการของสายการบิน ต้นทุนต่ำภายในประเทศ” เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ เบญจมิตรวิชาการ ครั้งที่ 2 การบูรณาการความรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. เสนอที่มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ, 29 พฤษภาคม.

รุ่งทิพย์ นิลพัท. (2561). คุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจที่มีความสัมพันธ์กับการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้รับบริการโรงพยาบาล เปาโลรังสิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วลัยลักษณ์ สุขคำ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ สายการบินต้นทุนต่ำกรณีศึกษาสายการบินไทยไลออนแอร์ ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2564). สถิติการขนส่งทางอากาศข้อมูลจำนวนผู้โดยสาร. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.caat.or.th/th/archives/69406 (2565, 15 ธันวาคม).

สุภาวดี วิริยะโกวินท์. (2556). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัย. การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

Best, J. W. (2001). Research in Education. New Jersey: Englewood Cliffo. Federal Aviation Administration, FAA, (2019). Pack Safe for Passengers. [Online], Available: https://www.faa.gov/hazmat/packsafe/ (2019, 12 May).

Chen, Y. G., Chen, Zi-Hui., Ho, J. C. & Lee, Chung-Shing. (2009). In-depth Tourism’s in fluencies on service innovation. International Journal of Culture, Tourism and Hospitality Research. 3(4): 326-336.

Crosby. (1988). The Eternally Successful Organization. New York: McGraw-Hill.

Porter, E. (1998). Clusters and Competition New Agendas for Companies, Governments, and Institutions. In M. Porter (Ed.), On Competition. (pp. 197-287).

Parasuraman, A., Berry, L. L. & Zeithaml, V. A., (1990). Delivering quality service: Balancing customer perceptions and expectations. New York: The free press.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed.). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023