การพัฒนาการแสดงพื้นบ้านของชาวไทยวน จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ วะนุยารักษ์ หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขานาฏศิลป์ไทย บัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • จินตนา สายทองคำ คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • สุขสันติ แวงวรรณ สาขานาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป์อ่างทอง

คำสำคัญ:

การพัฒนาการแสดง, การแสดงพื้นบ้าน, ไทยวน, วิถีชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษารูปแบบ องค์ประกอบ กระบวนท่ารำ การแสดงพื้นบ้านของชาวไทยวนจังหวัดสระบุรี และวิเคราะห์การพัฒนาการแสดงพื้นบ้านของชาวไทยวนจังหวัดสระบุรี โดยการสืบค้นข้อมูล สัมภาษณ์ และรับถ่ายทอด การแสดงจากศิลปินพื้นบ้านของ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากวัดต้นตาล หอศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวนจังหวัดสระบุรี และศูนย์ศิลปะ การแสดงโยนกอุทยานท่าน้ำศักดิ์สิทธิ์ ตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี จำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 9 คน ผู้วิจัยได้ใช้การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง โดยกำหนดเป็นคำถามเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางในการสัมภาษณ์ โดยคำถามมีลักษณะเป็นคำถามปลายเปิด เอกสารวิจัยเชิงพรรณนา โดยนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดมาเขียนในรูปแบบการพรรณนาวิเคราะห์ และเชื่อมโยงสอดคล้องกับวัตถุประสงค์แล้วเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับ
ผลการวิจัยพบว่า การแสดงพื้นบ้านของชาวไทยวน จังหวัดสระบุรี มีรูปแบบการฟ้อน ในลักษณะขบวนแห่ ใช้ผู้แสดงไม่จำกัดจำนวนตามความสมัครใจ องค์ประกอบด้านการแต่งกาย ผู้ชายนิยมใส่เสื้อม่อฮ่อมคอจีนแขนยาว มีผ้าคาดเอว ผ้าพาดบ่า และมีผ้าโพกศีรษะ นุ่งกางเกง ขาสามส่วน ทำจากผ้าฝ้ายย้อมสีคราม สะพายย่าม ผู้หญิง นิยมนุ่งซิ่นลายขวาง ชายผ้าซิ่น ด้านบน และด้านล่าง เป็นพื้นสีแดง ดำ หรือขาว มีผ้าสไบคาดอก ปล่อยชาย ต่อมาพัฒนาเป็นเสื้อไม่มีแขน มีสไบพาดไหล่ซ้าย เกล้าผมทัดดอกเอื้อง กระบวนท่ารำดั้งเดิมสร้างสรรค์จากวิถีชีวิต ได้แก่ ท่าฟ้อนตากข้าวแตน ท่าฟ้อนแม่กาตากปีก ท่าฟ้อนเหินเวหา และท่าฟ้อนฟันไร่นา มีการฟื้นฟูและพัฒนาการแสดงโดย นายกฤษฏิ์ ชัยศิลบุญ ณ ศูนย์ศิลปะการแสดงโยนกอุทยานท่าน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งนำกระบวนท่ารำแบบดั้งเดิมมาพัฒนา นำเสนอเกี่ยวกับวีถีชีวิต ผสมผสานท่าฟ้อนดั้งเดิม และท่ารำนาฏศิลป์ไทยประกอบการแปรแถว นำเสนอเป็นชุดการแสดง ลักษณะระบำ จัดแสดงต่อเนื่องกัน สำหรับเผยแพร่วัฒนธรรมไทยวนในโอกาสต่าง ๆ

References

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2530). คติชาวบ้าน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ.

ชมภูนาฏ ชมภูพนัธ. (2554). การวิจัยและการพัฒนาศิลปะการแสดงท้องถิ่นของจังหวัดเลย. วารสารการวิจัยและการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎเลย. 10(32): 83-90.

เตือนใจ ไชยศิลป์. (2535). ล้านนาในการรับรู้ของชนชั้นปกครองสยาม พ.ศ. 2325-2476. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. (2551). ร่องรอยชาวไทยวนในจิตรกรรมฝาผนัง วัดสมุหประดิษฐาราม จังหวัดสระบุรี. วารสารไทย. 29(105): 77-83.

มนต์เทียน สกุลนี. (2553). รูปแบบการอนุรักษ์อัตลักษณ์ชุมชนท้องถิ่นด้านศิลปะเพลงพื้นบ้านลำตัดขององค์กรการบริหารส่วนตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รัชวิภา สายนิดหน่อย. (2548). 2 ศตวรรษกลุ่มชนไทยวนกับ 1 ทศวรรษการสืบสานวัฒนธรรมที่สระบุรี. วารสารศิลปวัฒนธรรม. 26(4): 64-66.

ศรัณย์ ทองปาน. (2552). วัดหนองโนเหนือและวัดหนองยาวสูง จิตกรรมฝาผนังยุคสยามใหม่ในชุมชนยวนสระบุรี. วารสารเมืองโบราณ. 35(2): 1-4.

ศูนย์มานุษยวิทยาศิรินธร (องค์การมหาชน). (2547). วาทกรรมอัตลักษณ์. กรุงเทพฯ: โอ เอสพริ้นติ้งเฮ้าส์.

บรรจง โกศัลวัฒน์. (2551). ปฐมบทแห่ง ศิลปะการแสดง. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?t=2472 (1 ตุลาคม 2551).

อธิป จันทร์สุริย์. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นฐานสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดชุมพร. วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย. 12(1): 371-395.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-04-2023