การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความวิตกกังวลในการเรียนรู้ คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ผู้แต่ง

  • วรวรรณ วงศ์ศรีวิวัฒน์ ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

ความวิตกกังวล, การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ, ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความวิตกกังวล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความวิตกกังวลในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความวิตกกังวลในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักศึกษา การศึกษา ในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ซึ่งผ่าน การพิจารณาความตรงจากดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ไม่น้อยกว่า 0.6 และค่าความเที่ยงรายด้านอยู่ระหว่าง 0.90-0.94 กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา VLE101 ในภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 73 คน สุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มแบบตามสะดวก ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Pearson
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า นักศึกษามีความวิตกกังวลในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 3.28, S.D. = 0.87) และโดยภาพรวมทุกปัจจัยในการศึกษาในครั้งนี้ ซึ่งประกอบด้วย ความกลัวการถูกประเมินเชิงลบ ความวิตกกังวลในการสอบหรือกลัวการสอบตก วิธีปฏิบัติของผู้สอนที่ทำให้เกิดความกังวล และทัศนคติทางลบของผู้เรียน มีความสัมพันธ์ไปใน ทิศทางเดียวกันกับระดับความวิตกกังวลที่ระดับนัยสำคัญ .01 (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.734) โดยปัจจัยด้านที่มีความสัมพันธ์เข้มข้นมากที่สุดคือ ความวิตกกังวลในการสอบหรือกลัวการสอบตก ที่ระดับนัยสำคัญ .01 (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.719)

References

โชติ บดีรัฐ. (2561). วิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิพร ขัดตา, โจนา ปีลาลีโอ และนฤพร พงษ์คุณากร. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลและสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง, ประเทศไทย. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ. 8(1): 148-167.

บุษยา สันติกาญจน์. (2563). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 6(1): 13-25.

พิมลมาศ เกตุฉาย. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารกับครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่เป็นเจ้าของภาษา: กรณีนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

มัลลิกา บุนนาค. (2539). สถิติเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิรินันท์ นุยภูเขียว. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 12(28): 231-243.

Almurshed, H. M. & Aljuaythin, W. (2019). Does high anxiety decrease motivation for learning English as a Foreign Language?. International Journal of Applied Linguistics & English Literature. 8(2): 113-119.

Brown, D. H. (1987). Principles of language learning and teaching. Englewood Cliffs: Prentice-Hall.

Brown, D. H. (2007). Principles of language learning and teaching. (5th ed). New York: Pearson Longman.

Cater, R. (2001). Vocabulary. In R. Cater & D. Nunan (Eds.), The Cambridge Guide to Teaching English to Speakers of Other Languages. Cambridge: Cambridge University Press.

Changlek, A. & Palanukulwong, T. (2015). Motivation and grit: Predictors of language learning achievement. Veridian E-Journal, Silpakorn University, International (Humanities, Social Sciences and arts). 8(4): 23-38.

Chen, X. (2015). A Tentative study of vocabulary learning anxiety in college English learning in China. International Journal of English Linguistics. 5(1): 104-112.

Donkaewbua, S. (2016). Developing an anxiety in vocabulary learning through listening scale. International Journal of Language and Linguistics. 3(6): 60-71.

EF Education First. (2019). EF English Proficiency Index 2019. [Online], Available: https://www.ef.co.th/epi/. (2022, February 5)

EF Education First. (2020). EF English Proficiency Index 2020. [Online], Available: https://www.ef.co.th/epi/. (2022, February 5)

EF Education First. (2021). EF English Proficiency Index 2021. [Online], Available: https://www.ef.co.th/epi/. (2022, February 5)

Hashemi, M. (2011). Language stress and anxiety among the English language learners. Procedia - Social and Behavioral Sciences. 30: 1811-1816.

Horwitz, E. K., Horwitz, M. B. & Cope, J. (1986). Foreign Language Classroom Anxiety. The Modern Language Journal. 70(2): 125-132.

Hunt, A. & Beglar, D. (2005). A framework for developing EFL reading vocabulary. Reading in a Foreign Language. 17(1): 23-59.

Krejcie, R. & Morgan, D. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement. 30: 607-610.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. In Archives of Psychology. (1–55). New York: The Science Press.

Liu, M. & Hong, M. (2021). English language classroom anxiety and enjoyment in Chinese young learners. SAGE Open. 1-13.

Lucas, R. L., Miraflores, E. & Go, D. (2011). English language learning anxiety among foreign language learners in the Philippines. Philippine ESL Journal. 7: 94-119.

MacIntyre, P. D. & Gardner, R. C. (1991). Language anxiety: Its relationship to other anxieties and to processing in native and second language. Language Learning. 41(4): 513-534.

Neman, M. I. & Ganap, N. L. (2018). Student anxiety in learning English as a foreign language (EFL). In the 65th TEFLIN International Conference. 12-14 July 2018. (68-73). Makassar: Universitas Negeri Makassar.

Nunan, D. (1991). Language teaching methodology: A textbook for teachers. Prentice Hall.

Paranuwat, J. (2011). A Study of Foreign Language Learning Anxiety of the First Year Students at Srinakharinwirot University. Master of Arts Thesis in Teaching English as a Foreign Language, Srinakharinwirot University.

Sadiq, J. M. (2017). Anxiety in English language learning: a case study of English language learners in Saudi Arabia. English Language Teaching. 11(7): 1-7.

Tayyebi, G. (2021). The relationship between the anxiety level of Iranian elementary EFL learners and their vocabulary learning strategies. Contemporary Educational Researches Journal. 11(4): 161-175.

Woodrow, L. (2006). Anxiety and speaking English as a second language. Regional Language Centre Journal. 37(3): 308-328.

Young, D. J. (1991). Creating a low-anxiety classroom environment: What does language anxiety research suggest?. The Modern Language Journal. 75(4): 426-439.

Zheng, Y. & Cheng, L. (2018). How does anxiety influence language performance? From the perspectives of foreign language classroom anxiety and cognitive test anxiety. Language Testing in Asia. 8(13): 1-19.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-04-2023