แนวทางการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid - 19) ของผู้บริหารโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1
คำสำคัญ:
แนวทางการบริหาร, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า, ผู้บริหารโรงเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า ของผู้บริหารโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โรงเรียนในเขตอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ปีการศึกษา 2565 กำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตาราง เครจซี่และมอร์แกน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย จำนวน 44 โรงเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง รวมจำนวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่มีลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และ แบบการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า ของผู้บริหารโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการส่งต่อ อยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า ของผู้บริหารโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 พบว่า การดำเนินการทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์การแพร่ระบาดของของเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid - 19) มีการกระตุ้น วางแผน ส่งเสริมและสร้างความความตระหนักและความเข้าใจให้ครูประจำชั้น หัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา รวมไปถึงผู้ปกครองให้ร่วมกับคิด และร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเปลี่ยนแปลงของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่ถูกปรับเปลี่ยนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ให้มีความรวดเร็วทันต่อสถานการณ์เพื่อให้นักเรียนคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเข้มแข็งและปลอดภัย
References
กัลยา พรมรัตน์. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัด สพป. มหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
จันทร์ฉาย ไทยรัตน์. (2561). การบริหารและการจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่ดีของนักเรียนโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม อ.เมือง จ.เชียงราย. การศึกษาอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ณัฏฐ์ดนัย รุ่งกลิ่นขจร. (2559) . แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอด่านช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาศาสน์.
บุญยิ่ง พรมจารีย์. (2560). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ปรมาภรณ์ สนธิ. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
พิชามญช์ ม่วงแก้ว. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
เพลินพิศ สิงห์คำ. (2560). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรายภัฏมหาสารคาม.
รัชพล เที่ยงดี. (2563). การศึกษาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
รุ่งนภา สุขสำแดง. (2563). การศึกษาปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). 12 นโยบายการจัดการศึกษา 7 วาระเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการ. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.spm-pn.go.th/1799/ (2565, 20 พฤษภาคม).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน หลักการ แนวคิดและทิศทางในการดำเนินงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
อัจฉรา สอนโว. (2560). ประสิทธิผลการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Padrom, I. (2021). A Study on the Psychological Wound of covid-19 in University Students. University of Santiago de Compostela, Santiogo de Compostela, Spain.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิภาวี พูลทวี, จารุวรรณ นาตัน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์