แนวทางการพัฒนาตนเองของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตภาคกลาง
คำสำคัญ:
การพัฒนาตนเอง, นักศึกษาวิชาชีพครู, มาตรฐานวิชาชีพ, มาตรฐานความรู้บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการปฏิบัติงานของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตภาคกลาง และ 2) เพื่อเสนอแนวทาง การพัฒนาตนเองของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตภาคกลาง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษา ชั้นปีที่ 1 - ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2564 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตภาคกลาง จำนวน 1,701 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษา ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2564 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตภาคกลาง จำนวน 318 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง โดยเป็นนักศึกษาที่อยู่ระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.60 -1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 แบบสอบถามสภาพปัญหา การปฏิบัติงานของนักศึกษาวิชาชีพครู และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครู วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาตนเองของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาการปฏิบัติงานของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตภาคกลาง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.14, S.D. = 0.19) สภาพ ปัญหาการปฏิบัติงาน ที่นักศึกษามีปัญหาสูงสุด คือ ด้านการวัดประเมินผลการเรียนรู้ และการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.78, S.D. = 0.22)
2. แนวทางการพัฒนาตนเองของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย การกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตภาคกลาง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนาตนเอง ขั้นตอนที่ 2 กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง ขั้นตอนที่ 3 การหาแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาตนเอง ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการพัฒนาตนเอง
References
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง. (2560). คู่มือปฏิบัติการสอน.อ่างทอง: มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง.
จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย, และ ชัยยุธ มณีรัตน์. (2562). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 9(2): 1-10.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นัยนา บุพพวงษ์. (2559). ครูและการเป็นครูวิชาชีพ. ตำราประกอบรายวิชาพื้นฐานวิชาครู รหัสวิชา กศ. 012002.
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. (2563). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาพลศึกษา (4ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง.
มะสานูสี อาลี. (2562). ความต้องการพัฒนาตนเองตามมาตรฐานความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพครู ในสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายมายอพัฒนา จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วรพงศ์ ผูกภู่. (2563). องค์ประกอบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www. randdcreation.com (2564, 10 ธันวาคม)
สรร ธงยศ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่าง “การวิจัย” และ “การประเมิน”. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 2(2), 20-25.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2560). ครูยุคใหม่กับการจัดการเรียนรู้ สู่การศึกษา 4.0. กรุงเทพฯ: เทคนิคพริ้นติ้ง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th (2564, 19 พฤษภาคม)
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2562). กรอบสมรรถนะครูเอเชียตะวันออกเชียงใต้ (ซี-ทีซีเอฟ). กรุงเทพฯ: ออนป้า.
Indeed Editorial Team. (2021). How to Perform a Self-Assessment. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://ca.indeed.com.
Jia Li, H., & Chia Ying, W. (2015). Student Teacher Perception of Teacher Education and Professional Knowledge Acquisition, Use, and Importance in Taiwan. Journal of Research in Education Sciences Taipei. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.proquest.com.
Mind Tools Content Team. (2015). The Golden Rules of Goal Setting. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://prime.mindtools.com/pages/videos/golden-rules.htm.
Rouda, R. H., & Kusy, M. E. (1995). Needs assessment: The first step. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.alumni.caltech.edu.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ธนวัฒน์ ขุนราช, พัชรี สีส่อง, คณิตชา ส่อนราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์