ความพึงพอใจในการใช้งานระบบลาออนไลน์ของบุคลากร กองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • สุวัฒนา สุหร่าย คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ภิรดา ชัยรัตน์ สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ระบบลาออนไลน์, สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการใช้งานระบบลาออนไลน์ของบุคลากรกองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจในการใช้งานระบบลาออนไลน์ของบุคลากรกองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยการใช้ระบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรกองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ใช้ระบบลาออนไลน์ จำนวน 125 คน เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และหาความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีของ LSD
ผลการวิจัยพบว่าความพึงพอใจในการใช้งานระบบลาออนไลน์ของบุคลากรกองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.28, S.D. = 0.69) จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่าบุคลากรที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการทำงาน ระบบปฏิบัติการที่ใช้เข้าระบบลาออนไลน์ และเว็บเบราว์เซอร์ที่ใช้เข้าระบบลาออนไลน์ต่างกันมีความพึงพอใจในการใช้งานระบบลาออนไลน์ไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้บุคลากรที่มีอุปกรณ์ที่เข้าใช้ระบบลาออนไลน์ต่างกันมีความพึงพอใจในการใช้งานระบบลาออนไลน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กฤษกร ชั้นแสงทอง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบอนุมัติสินเชื่อ เพื่อการพาณิชย์ กรณีศึกษา ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายและการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนวัตกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2561). กลุ่มภารกิจอำนวยการ. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://generalops.moph.go.th/main/?url=page/detailpage/2/02/1/ (2565, 10 สิงหาคม).

ชนิตรา เลาะห์มิน, สมเกียรติ ตันติวงศ์วาณิช และกาญจนา บุญภักดิ์. (2558). ความพึงพอใจต่อ การใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 14(3): 423-430.

ดวงใจ ภัทรศรีธนวงศ์ และกิตติ แก้วจำลอง. (2560). การประเมินประสิทธิผลการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์. 17(1): 59-70.

ธนภัทร กุหลาบทิพย์ และคงวุฒิ แสงกล้า. (2561). การพัฒนาระบบลางานออนไลน์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ขอนแก่น จำกัด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 1(2): 35-40.

นนิดา สร้อยดอกสน, ณัฐพร สวัสดิ์นาวิน และปิยนุช ขันติศุข. (2557). การพัฒนาระบบลางานออนไลน์. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร. 8(2): 115-126.

ประทุมวรรณ มลูศรี และโสภณ เครือแก้ว. (2563). การสํารวจความพึงพอใจต่อระบบการลางานออนไลน์ ของคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิชาการ ปขมท. 9(2): 66-75.

สกล บุญสิน. (2560). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. เชียงใหม่: ศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). ภาครัฐไทยกับการก้าวเข้าสู่รัฐบาลดิจิทัล. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://web.krisdika.go.th/data/outsitedata/

ManagementSystem/pdf/digital01.pdf (2565, 10 สิงหาคม).

DeLone, W. H. and McLean, E. R. (2003). The DeLone and McLean Model of Information system success: A Ten-Year Update. Journal of Management information System. 19(4): 9-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023