การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความสามารถด้านการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • พรรณิการ์ สมัคร วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

องค์ประกอบเชิงยืนยัน, ความสามารถด้านการรู้เท่าทันสื่อ, ศตวรรษที่ 21, นักศึกษาระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความสามารถด้านการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยผู้วิจัยใช้เกณฑ์การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือ ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 20 เท่า ต่อตัวแปรที่สังเกตได้ 1 ตัวแปร โดยในงานวิจัยมีตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด 16 ตัวแปรสังเกตได้ ดังนั้น จึงกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจริง จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 16 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.74 - 0.89 และค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของความสามารถด้านการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.95 องค์ประกอบที่ 2 ความสามารถในการเข้าใจข้อมูล มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.96 องค์ประกอบที่ 3 ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.96 องค์ประกอบที่ 4 ความสามารถในการประเมินข้อมูล มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.97 และองค์ประกอบที่ 5 ความสามารถในการประยุกต์ใช้ข้อมูล มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.94 ทุกองค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงพหุยกกำลังสอง (R2) มีค่าระหว่าง 0.89 - 0.95 พบว่า ความสามารถในการประเมินข้อมูล มีค่าสูงที่สุด เท่ากับ 0.95 รองลงมาคือ ความสามารถในการเข้าใจข้อมูล และความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล มีค่าเท่ากับ 0.92 และต่ำที่สุด คือ ความสามารถในการประยุกต์ใช้ข้อมูล มีค่าเท่ากับ 0.89 ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสามารถด้านการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลความสามารถ ด้านการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าสถิติไค-สแคว์ = 110.54, df = 93, p-value = 0.103, CFI = 1.00, AGFI = 0.96, RMSEA = 0.024 แสดงว่าโมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม และสอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ สามารถนำมาอธิบายความสามารถด้านการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีได้

References

ณัชชา ปกิจเฟื่องฟู. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้การคิดเป็นฐานด้วยสื่อเครือข่าย สังคมเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐนันท์ ศิริเจริญ. (2557). การสื่อสารเพื่อการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศจากสื่ออินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศ ศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปฐมาภรณ์ ปันอินทร์. (2555). กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสำหรับเยาวชนไทยตามแนวจิตตปัญญาศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพย์ เย็นจะบก. (2552). ถอดรหัส ลับความคิด เพื่อการรู้เท่าทันสื่อ. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท ครีเอชั่น.

วรรณรี ตันติเวชอภิกุล. (2562). การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับครอบครัวเพื่อเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิโรจน์ สุทธิสีมา และคณะ. (2563). สถานภาพความรู้การวิจัยเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2540 - 2560. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย. (15)2: 209-238.

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน และเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย. (2559). กรอบแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล เพื่อสร้างพลเมือง ประชาธิปไตย. ใน การประชุมโต๊ะกลม การพัฒนา กรอบแนวคิด และ หลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล เพื่อสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. 22 มิถุนายน 2559. กรุงเทพฯ: สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน.

สรัญญา จันทร์ชูสกุล, อัจศรา ประเสริฐสิน และพินดา วราสุนันท์. (2560). การพัฒนามาตรวัดการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศสาหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 23(23): 183-198.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรรัตน์ ทิพย์เลิศ. (2550). รู้ทันตนเอง รู้เก่งใช้สื่อ แนวคิดใหม่ของการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพ.กรุงเทพฯ: โครงการสื่อสร้างสรรค์สุขภาพในนามมูลนิธิมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

อุษา บิ๊กกิ้นส์. (2555). การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ. สุทธิปริทัศน์. 26(80): 147-162.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565). เอกสารเผยแพร่ผลสำรวจสถานการณ์รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัลของประชาชนไทย ประจำปี พ.ศ. 2565. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://resourcecenter.thaihealth.or.th/media/K3xx. (2566, 1 กรกฎาคม).

Canadian Council on Learning. (2008). Media Literacy for Children in the Internet Age. [online], Available: www.jmle.org/index.php/JMLE/artical/view/48/32. (2566, 16 มิถุนายน).

European Commission. (2007). A European Approach to Media Literacy in the Digital Environment. [online], Available: www.europa.eu/avpolicy/media_literacy/does/com/en.pdf. (2566, 16 มิถุนายน).

Hair, J. F. Jr. Black, W. C., Babin, B. J. Anderson, R. E. & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis. (6th ed). New Jersey: Prentice Hall.

Oxstrand, B. (2009). MEDIA LITERACY EDUCATIONA Discussion about Media Education in the Western Countries, Europe and Sweden. Paper presented at the Nordmedia09 Conference in Karlstad University. Sweden.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023