บุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบ และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร : กรณีศึกษา กองบัญชาการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย

ผู้แต่ง

  • ปรัชชาณี ภิรมย์ภักดี หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • กฤษฎา มูฮัมหมัด สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

บุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบ, แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, ประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันต่อประสิทธิผล ในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร: กรณีศึกษา กองบัญชาการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย 2) ศึกษาบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบที่มีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร: กรณีศึกษา กองบัญชาการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย และ 3) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร: กรณีศึกษา กองบัญชาการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการทหาร สังกัดกองบัญชาการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวน 255 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 4 ส่วน โดยมีค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.92 และมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.96 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การเปรียบเทียบค่าที่มีอิสระต่อกัน, การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการเปรียบเทียบกันรายคู่เมื่อพบความแตกต่าง และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า บุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบของข้าราชการทหารโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร อยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า
1. ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ระดับตำแหน่งต่างกัน ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2. บุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบ พบว่า ด้านแบบมั่นคงทางอารมณ์ (β = 0.247) ด้านแบบเปิดใจสู่การเรียนรู้ (β = 0.232) ด้านแบบเปิดเผย (β = 0.204) ด้านแบบยึดมั่นในหลักการ (β = 0.188) และด้านแบบประนีประนอม (β = 0.148) มีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน พบว่า ปัจจัยจูงใจ (β = 0.673) และปัจจัยค้ำจุน (β = 0.253) มีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

เขมจิรา ทองอร่าม. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการอุตสาหกรรมฉีดขึ้นรูปพลาสติก ในเขตประกอบการอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

เชฐธิดา กุศลาไสยานนท์. (2564). ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม. 1(1): 25-31.

ชุติมา ทองไกรแก้ว. (2562). บุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบกับแรงจูงใจการให้บริการสาธารณะที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลในจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธนัญฉัตร เอี่ยมเพ็ชร์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การ และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

มาฆพร กรานต์เจริญ. (2561). ปัจจัยภาวะผู้ตามแบบมีประสิทธิผลและแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กรธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขนาดใหญ่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. (2561). บทบาทของหน่วยบัญชาทหารพัฒนาเพื่อสนับสนุนงานความมั่นคง. กรุงเทพฯ: สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.

สุรพงษ์ เปี่ยมสุวรรณศิริ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการใน จ.ปราจีนบุรี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุวิทย์ ปี่เงิน และกิติยา ทัศนบรรจง. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสมาชิกสมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์. 16(1): 112-124.

อาริญา เฮงทวีทรัพย์สิริ. (2558). ความผูกพันต่อองค์การ บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและความสุขในการทำงานของพยาบาล โดยมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การเป็นตัวแปรสื่อ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Beach, D. S. (1965). Personnel Management People at Work. New York: The Macmillan.

Certo, S. C. (2000). Mordern Management. (8th ed.). New Jersey: Enflewood Cliffs, Prentice-Hall.

Costa, P. T. Jr. & McCrae, R. R. (1992). Revised NEO Personality Inventory and NEO Five-Factor Inventory: Professional Manual. Odessa, FL: Psychological Assessment Resources.

Greenberg, J. & Baron, R. A. (2003). Behavior in Organizations: Understanding and Managing the Human Side of Work. (18th ed.), Prentice-Hall, Upper Saddle River.

Hanna, N. & Wozniak, R. (2001). Consumer behavior: An applied approach. Upper Saddle River. NJ: Prentice Hall.

Herzberg, F., Mausner, B. & Snyderman, B. B. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley & Sons.

Osabiya, Babatunde Joseph. (2015). The effect of employees’ motivation on organizational performance. National Open University of Nigeria (NOUN). Journal of Public Administration and Policy Research.

Portny, E. (2013). Project Management for Dummies. (4th ed). New York: John Wiley & Sons.

Shani, A. B., Chandler, D., Coget, J.F., & Lau, J. B. (2009). Behavior in Organizations (9th ed.). New York: McGraw-hill.

Xinzhu, L. & Anne, M. (2007). Public Ends, Private Means: Strategic Purchasing of Health Services. Washington, DC: World Bank Publications.

Zimbardo, P. G., Johnson, R. L. & McCann, V. (2009). Psychology: Core Concepts. (6th ed.). Boston: Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023