ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์การของพนักงานบริษัทเอกชน กลุ่มเจนเนอเรชั่นซี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
คำสำคัญ:
ปัจจัยจูงใจ, ปัจจัยค้ำจุน, ความผูกพันในองค์การ, เจนเนอเรชั่นซีบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความแตกต่างของปัจจัยประชากรศาสตร์ ที่มีผลต่อความผูกพันในองค์การของพนักงานบริษัทเอกชน กลุ่มเจนเนอเรชั่นซี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจกับความผูกพันในองค์การของพนักงานบริษัทเอกชน กลุ่มเจนเนอเรชั่นซี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยค้ำจุนกับความผูกพันในองค์การของพนักงานบริษัทเอกชน กลุ่มเจนเนอเรชั่นซี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานบริษัทเอกชน กลุ่มเจนเนอเรชั่นซี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้สูตรแบบไม่ทราบจำนวนประชากรของ Cochran ได้จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือต้องเป็นผู้ที่ทำงานในบริษัทเอกชน โดยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเกิดระหว่างปี พ.ศ. 2538 - 2552 เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ในครั้งนี้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าอัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติทีสำหรับทดสอบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน การทดสอบ ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยจูงใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยค้ำจุน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และความผูกพันในองค์การอยู่ในระดับมาก
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ปัจจัยประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาการปฏิบัติงาน ที่แตกต่างกัน มีผลต่อความผูกพันในองค์การ ของพนักงานบริษัทเอกชน กลุ่มเจนเนอเรชั่นซี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลแตกต่างกัน 2) ปัจจัยจูงใจ ได้แก่ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ และด้านความรับผิดชอบในงาน มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันในองค์การของพนักงานบริษัทเอกชน กลุ่มเจนเนอเรชั่นซี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 19.20 3) ปัจจัยค้ำจุน ได้แก่ ด้านนโยบายการบริหาร ด้านการบังคับบัญชา ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ด้านสภาพการทำงาน และด้านความมั่นคงในการทำงาน มีความสัมพันธ์ต่อ ความผูกพันในองค์การของพนักงานบริษัทเอกชน กลุ่มเจนเนอเรชั่นซี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 24.50
References
จิณห์จุฑา นิ่มนวล. (2561). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน กรณีศึกษา : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดตรัง. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
จุฑาธิป วีระมโนกุล. (2557). การศึกษาเรื่องแรงจูงใจ สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร: กรณีศึกษา บริษัท พี.วาย.ฟู้ดส์ จำกัด. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ฐิติมา หลักทอง. (2557). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท ผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณิชาภัทร แก้วพงศ์มงคล. (2562). ความตั้งใจในการคงสมาชิกภาพของเจนเนอเรชั่น Z: บทบาทของคุณลักษณะของความรู้และความยึดมั่นผูกพันในงาน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 38(2), 168-197.
เดชา เดชะวัฒนไพศาล และคณะ. (2557). การศึกษาเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวายในมุมมองคุณลักษณะของตนเองและความคาดหวังต่อคุณลักษณะของเจนเนอเรชั่นอื่น. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 36(141), 1-17.
ทศพล ผลาผล และณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการ กรณีศึกษา: บริษัท ผลิตวิทยุติดรถยนต์แห่งหนึ่ง. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 5(1), 32-40.
ธีรพันธ์ ลมูลศิลป์ และวัชระ ยี่สุ่นเทศ. (2562). แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันดพล. 5(1), 76-84.
บงกช ตั้งจิระศิลป์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การ ความจงรักภักดีต่อองค์การและผลการปฏิบัติงานของนักบัญชีในจังหวัดระยอง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 3(2), 55-70.
บุศราคัม รักท้วม. (2562). ปัจจัยด้านแรงจูงใจที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
รัชตา สวนสวัสดิ์ คณิสรา ธัญสุนทรสกุล สาวิตรี บัญมี และมธุรินทร์ แก้วแสนกร. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัทธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) จังหวัดอุดรธานี. Journal of Thai Interdisciplinary Research. 13(2), 10-17.
รุจิรา ตัณฑพงษ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรรณา อาวรณ์. (2557). แรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการรัฐสภาระดับปฏิบัติงาน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.
อภิญญา ทองเดช. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance, And normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology. 63(1): 1-18.
Glass, A. (2007). Understanding generational differences for competitive success. Industrial and commercial training. 39(2): 98-103.
Howe, N., & Strauss, W. (2000). Millennials rising: the next great generation/by Neil Howe and Bill Strauss; cartoons by R.J. Matson. New York: Vintage Books.
Katz, D., & Kahn, R. L. (1978). The Social Psychology of Organization. (2nd ed). New York: John Wiley & Sons.
McCrindle, M. (2014). The ABC of XYZ: Understanding the global generations. (3rd ed.). Bella Vista: McCrindle Research.
Twenge, J. M., & Campbell, S. M. (2008). Generational differences in psychological traits and their impact on the workplace. Journal of Managerial Psychology. 23(8): 862-877.
W. G. Cochran. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons.
Zikmund, William G. (2000). Exploring Marketing Research. (7th ed). New York: The Dryden Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 อารีรัตน์ เสสตะญาติ, กฤษฎา มูฮัมหมัด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์