รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี

ผู้แต่ง

  • สุพจน์ เกิดสุวรรณ์ วิทยาลัยนวัตกรรมทางการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • อภิสรรค์ ภาชนะวรรณ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยเมธารัถย์

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, การประกันคุณภาพภายใน, ประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายใน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี 2) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืน                 ของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี 3) ศึกษาขนาดอิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี                   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี จำนวน 70 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูหัวหน้าวิชาการ และครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา จำนวน 210 คน                        ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความตรงเชิงเนื้อหา มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นซึ่งแยกวิเคราะห์เป็นรายปัจจัย ประกอบด้วย ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ วัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ การจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาและรวมทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.94, 0.86, 0.94, 0.92 และ 0.99 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสอดคล้องกลมกลืนของรูปแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์และวิเคราะห์สมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี ตัวแปรสาเหตุประกอบด้วยปัจจัยด้าน ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ วัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ และการจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ตัวแปรผลได้แก่ประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาประกอบด้วยคุณภาพผู้เรียน กระบวนการบริหารและการจัดการ และกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าสถิติที่ใช้แสดงความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ผ่านเกณฑ์การพิจารณาทุกค่าดังนี้ Chi-square= 108.59, p-value=0.16, Chi-square/df=1.143, GFI=0.94, AGFI=0.91, RMSEA=0.026
3. ผลการศึกษาขนาดอิทธิพล ทางตรง ทางอ้อมและอิทธิพลรวมของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผล การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาจากมากไปน้อยได้แก่ การจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา มีค่าเท่ากับ 0.78 รองลงมาคือภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ และวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์มีค่าเท่ากับ 0.06 และ 0.02 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมจากมากไปน้อยได้แก่ วัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์และภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ มีค่าเท่ากับ 0.57 และ 0.17 ตามลำดับ อิทธิพลรวมของวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ และภาวะผู้นำ แบบเปลี่ยนสภาพ มีค่าเท่ากับ 0.59 และ 0.23 ตามลำดับ

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2561). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.sl.ac.th/addons/qa20.pdf

จิตต์วิมล คล้ายสุบรรณ บุญเรียง ขจรศิลป์ และพิกุล วรางกูร. (2556). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผลสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 17(2): 61-79).

ชัยรัตน์ ต.เจริญ จินตนา จันทร์เจริญ เฌณิศา สุวรรณจินดา และ วีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของ วิทยาลัยเชียงราย.วารสาร Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 10(1): (มกราคม – เมษายน 2560).

เทวัญ เงาะเศษ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดกระบี่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเกต.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราโมศ อิสโร. (2554). ภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผ่านการประเมินและรับรองคุณภาพจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประกันคุณภาพการศึกษา(สมศ.) ในรอบที่ที่สองที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีและดีมาก. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วารุณี บำรุงสวัสดิ์ วาโร เพ็งสวัสดิ์ และศิริดา บุรชาติ. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 1(2): (39-46).

สุภมาส อังศุโชติ และคณะ. (2552). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่งคงการพิมพ์.

สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่ปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. (2566). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2566. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://saraburi2.org>web

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2564). ประกาศคณะกรรมการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การประกันคุณภาพภายนอกภายใต้สถานการณ์จำเป็นและเร่งด่วนเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19). [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: แหล่งที่มา http://www.onesga.or.th

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟิก.

อดุลย์ สุชิรัมย์. (2555). การพัฒนาโมเดลประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). Improving Organizational Effectiveness through Transformational Leadership. Newbery Park, CA Sage Share Vision. Winter Organization Dynamics.

Cooke, R. & Lafferty. (1989). Organizational culture inventory. Plymouth, MI: Human Synergistics.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023