ความคาดหวังของนักเรียนที่มีต่อภาวะการนำของผู้บริหาร สถานศึกษาขนาดใหญ่ จังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • ประพันธ์พงษ์ ชิณพงษ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • เจษฎา ความคุ้นเคย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

ความคาดหวังของนักเรียน, ภาวะการนำของผู้บริหาร, สถานศึกษาขนาดใหญ่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคาดหวังของนักเรียนที่มีต่อภาวะการนำของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่ จังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว และ 2) เปรียบเทียบ ความคาดหวังของนักเรียนที่มีต่อภาวะการนำของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่ จังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว จำแนกตามเพศ ระดับช่วงชั้นของนักเรียน และจังหวัดที่นักเรียนศึกษาอยู่ โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อภาวะการนำของผู้บริหารจากตัวอย่างนักเรียน ที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาในสถานศึกษาขนาดใหญ่ จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่น 0.76 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ ค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคาดหวังของนักเรียนที่มีต่อภาวะการนำของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่ จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก และ 2) คาดหวังของนักเรียนที่มีต่อภาวะการนำของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ ระดับช่วงชั้นของนักเรียน และจังหวัดที่นักเรียนศึกษาอยู่ พบว่า นักเรียนที่มีเพศหรือจังหวัดที่ศึกษาอยู่ต่างกัน มีความคาดหวังต่อภาวะการนำของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่ต่างกัน ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

References

โชคชัย ขุนศรี จำนง วงษ์ชาชม และชาญวิทย์ หาญรินทร์. (2554). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 1(1): 71-77.

ธรรมรัตน์ บุปผาชาติ มิตภาณี พุ่มกล่อม และพงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 10(40): 198-206.

ธีรวุฒิ เอกกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สมจิตร เจริญกร. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในองค์กร. Journal of Roi Kaensarn Academi. 3(2): 1-16.

สำนักนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดและแผนพัฒนาการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา. เอกสารประกอบการประชุมขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาเพื่อกำหนดทิศทางและแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดและแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่การศึกษา. 11-13 พฤษภาคม 2559 โรงแรมแอมบาสเดอร์ซิตี้ จอมเทียน พัทยา จังหวัดชลบุรี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. (2564). ข้อมูลพื้นฐาน. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/a/ssps4.go.th/ssps4main/profile/oc. (2565, 25 มีนาคม).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว. (2564). ข้อมูลพื้นฐาน. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://spm-sk.go.th/. (2565, 25 มีนาคม).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. [ออนไลน์], http://library.nhrc.or.th/ULIB/dublin.php?ID=9265. (2565, 20 มีนาคม).

Hoy, W. K & Miskel. C. G. (2001). Educational Administration: Theory Research and Practice. (4th ed). New York: Harper Collins.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.

Steers, R. M. (1977). Motivation and Work Behavior. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024