ผลการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์เชิงรุกที่มีต่อ ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ผู้แต่ง

  • สุวรรณา จุ้ยทอง หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์เชิงรุก, ความพึงพอใจ, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์เชิงรุก สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนที่มีต่อการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์เชิงรุก กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาระดับ ปริญญาโท และระดับปริญญาเอก สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ในปีการศึกษา 2562 ถึง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 85.71 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แผนการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์เชิงรุก มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (M = 4.57, S.D. = 0.11) และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่า IOC เท่ากับ 0.67-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบของการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์เชิงรุก สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ มีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านวิชาการ 2) ด้านความสัมพันธ์ 3) ด้านคุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษา และ 4) ด้านจิตใจของนักศึกษา
2. ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ต่อการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์เชิงรุก อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.99, S.D. = 0.01)

References

กันต์ฤทัย คลังพหล. (2561). วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 10). นนทบุรี: ไทยเนรมิต กิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.

ดิลกรัตน์ โคตรสุมาตย์ และชัญญา อภิปาลกุล. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา. 5(3): 17-27.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พวงเพชร วอนวัฒนา. (2563). ปัจจัยในการสำเร็จการศึกษาล่าช้า และสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต. (2563). รายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร มคอ.7 หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. (2563). รายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร มคอ.7 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

Abelman, R., & Molina, A. (2001). Style over substance revisited: A longitudinal analysis of intrusive intervention. NACADA Journal. 21(1–2): 32-39. doi.org/10.12930/0271-9517-21.1-2.32.

Aiken-Wisniewski, S, Campbell, S., Nutt, C., Robbins, Kirk-Kuwaye, M. M., & Hige, L. (2010). Guide to assessment academic advising (Monograph No.23). Manhattan, KS: The National Academic Advising Association.

Cannon, J. (2013). Intrusive advising 101: How to be intrusive without intruding. Academic Advising Today. 36(1). [Online], Available: https://nacada.ksu.edu/Resources/Academic-Advising-Today/View-Articles/Intrusive-Advising-101-How-to-be-Intrusive-Without-Intruding.aspx

Drake, J. K., Jordan, P., & Miller, M. A. (2013). Academic advising approaches: Strategies that teach students to make the most of college. Jossey-Bass Publishers.

Jermain C. P. (2021). Proactive Advising and Its Impact on Black Students: A Qualitative Study. California State University.

Joslin, J. E. (2018). The case for strategic academic advising management. New Directions for Higher Education. 2018(184): 11–20. doi.org/10.1002/he.20299

Kraft-Terry, S., & Kau, C. (2019). Direct measure assessment of learning outcome-Driven Proactive advising for academically at-risk students. NACADA Journal, 39(1), 60-76. https://doi.org/10.12930/NACADA-18-005.

Larson, J., Johnson, A., Aiken-Wisniewski, S. A., & Barkemeyer, J. (2018). What is Academic advising? An application of analytic induction. NACADA Journal. 38(2): 81-93. doi.org/10.12930/0271-9517-38.2.81

Thomas. (2017). Thomas, N. G. (2017). Using intrusive advising to improve student outcomes in developmental college courses. Journal of College Student Retention: Research, Theory & Practice. 22(2): 251–272. doi.org/10.1177/1521025117736740.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024