ข้ออ้างเหตุผลทางจริยธรรมของปีเตอร์ ซิงเกอร์เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วม ในตำบลกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • วรรณลดา กันต์โฉม หลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ชัชพันธุ์ ยิ้มอ่อน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, จริยธรรม, อรรถประโยชน์นิยม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีจุดประสงค์ในการเสนอแนะข้ออ้างเหตุผลทางจริยธรรมเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมในชุมชนให้กับประชาชนในตำบลกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีศึกษาตัวบทกับสภาพบริบทของปีเตอร์ซิงเกอร์เพื่อพัฒนาเป็นกรอบแนวคิด นอกจากนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์กับการสนทนากลุ่มเพื่อเปิดพื้นที่การแลกเปลี่ยนในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางจริยธรรมกับการพัฒนาการส่วนร่วมในชุมชน ผลการวิจัยพบว่า ข้ออ้างเหตุผลการพัฒนาการมีส่วนร่วมในตำบลกระแชง คือ ถ้าการเข้ามามีส่วนร่วมในชุมชนไม่ต้องเสียสละอะไรทีสำคัญต่อชีวิต เราควรที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในชุมชน ข้ออ้างเหตุผลดังกล่าวเป็นข้ออ้างที่ทำให้ชุมชนเกิดการพิจารณาว่า ข้ออ้างเหตุผลของตนเองที่ไม่เข้าร่วมในกิจกรรมของชุมชนเป็นการคำนึงถึงการป้องกันผลที่เลวร้ายหรือไม่ และเป็นการปฏิเสธข้ออ้างที่ไม่เข้ามามีส่วนร่วมว่าเป็นข้ออ้างที่ไม่มีศีลธรรมเนื่องจากเป็นข้ออ้างที่ไม่ป้องกันผลที่เลวร้าย

References

ชัชพันธุ์ ยิ้มอ่อน, (2567). การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง. เอกสารประกอบการสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชัชพันธุ์ ยิ้มอ่อน, วรรณลดา กันต์โฉม, วรลักษณ์ วีระยุทธ และ พิชญาณี เชิงคีรี ไชยยะ. (2564). โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ตำบลกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ชัชพันธุ์ ยิ้มอ่อน, วรรณลดา กันต์โฉม, วรนุข สิปิยารักษ์ และปิยะ สงวนสิน. (2567). การพัฒนาการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างนวัตกรรมชุมชนกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. วารสาร มจร.สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 13(5). [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr

โชคดี พุ่มคำ, สำรวย เพ็งโคตร, กาญจนา โคตรเพชร, สมทรง คอยผล, วิเชียร พูลสวัสดิ์, สมัย สมศรี, บังอร ทองสีสังข์, ตำบลกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. 8 พฤษภาคม 2566, สนทนากลุ่ม.

ณัฐพล โสตถิรัตน์วิโรจน์. (2559). ความคิดทางจริยศาสตร์ของปีเตอร์ ซิงเกอร์ในงานจริยศาสตร์เชิงปฏิบัติ. วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒน์. 41(2). [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOH/article/view/7968

นัทธ์พิรดา กองคำ (นามสมมติ, ตำบลกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. 8 พฤษภาคม 2566), สัมภาษณ์.

ภานุวัฒน์ ทองศรีสังข์ และคณะ. ตำบลกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. (8 พฤษภาคม 2566). สัมภาษณ์.

ศุภชัย ศุภผล. (2562). ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ส่งศักดิ์ จันทร์โสภา (นามสมมติ), ตำบลกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. (8 พฤษภาคม 2566), สัมภาษณ์.

อารักษ์ รุจิระศิริกุล (นามสมมติ), ตำบลกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. (8 พฤษภาคม 2566), สัมภาษณ์.

Berkey, B. (2023). Utilitarianism and Poverty. In Gottfried Schweiger & Clemens Sedmak (eds.), Routledge Handbook of Philosophy and Poverty. Routledge. pp. 127-137.

Giubilini, A., Douglas, T. & Savulescu, J. (2018). The moral obligation to be vaccinated: utilitarianism, contractualism, and collective easy rescue. Med Health Care Philos. Dec;21(4):547-560. doi: 10.1007/s11019-018-9829-y. PMID: 29429063; PMCID: PMC6267229.

Pummer, T. (2016). “Whether and Where to Give.” Philosophy & Public Affairs. 44(1): 77-95.

Singer, P. (1972). “Famine, Affluence, and Morality.” Philosophy & Public Affairs. 1(3): 229–43. [Online], Available: http://www.jstor.org/stable/2265052. Accessed 2 Sept. 2023.

Singer, P. (2011). The life you can save: How to do your part to end world poverty. New York: Random House.

Singer, P. (2011). Practical Ethic. New York: Cambridge University.

TPMAP. (2566). ภาพรวมคนจนในปี 2566. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.tpmap.in.th/2566/130704.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024