การวิเคราะห์สารนิทัศน์การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ของนักศึกษาปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • นันทิยา รักตประจิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • พนิดา ชาตยาภา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ศศิธร จันทมฤก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้, นักศึกษาครูปฐมวัย, สารนิทัศน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษา ครูปฐมวัย โดยการวิเคราะห์สารนิทัศน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 23 คน ที่เรียนในรายวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 - 6 ปี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ สารนิทัศน์ ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกการสังเกตการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 - 6 ปี 2) วิดีทัศน์การจัดกิจกรรม 3) ภาพถ่าย การจัดกิจกรรม และ 4) แผนการจัดกิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาตามกรอบ ในการวิเคราะห์ คือ 1) หลักพัฒนาการ 2) หลักการจัดการการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง 3) หลักการบูรณาการ 4) หลักการเล่นและการเรียนรู้ 5) หลักการใช้สื่อ เทคโนโลยีและสภาพแวดล้อม และ 6) หลักการประเมินตามสภาพจริง
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษาครูปฐมวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 3 - 4 ปี ในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมสร้างสรรค์ได้สอดคล้องกับหลักการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือหลักพัฒนาการ หลักการจัดการการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ การทำงานของสมอง หลักการเล่นและการเรียนรู้ หลักการใช้สื่อ เทคโนโลยีและสภาพแวดล้อม แต่ยังไม่สอดคล้องกับหลักการบูรณาการและหลักการประเมินตามสภาพจริง
2. นักศึกษาครูปฐมวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 4 - 5 ปี ในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมสร้างสรรค์ได้สอดคล้องกับหลักการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือหลักพัฒนาการ หลักการจัดการการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ การทำงานของสมอง หลักการเล่นและการเรียนรู้ หลักการใช้สื่อ เทคโนโลยีและสภาพแวดล้อม แต่ยังไม่สอดคล้องกับหลักการบูรณาการและหลักการประเมินตามสภาพจริง
3. นักศึกษาครูปฐมวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 5 - 6 ปี ในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมสร้างสรรค์ได้ สอดคล้องกับหลักการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ หลักพัฒนาการ หลักการจัดการการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง หลักการเล่นและการเรียนรู้ หลักการใช้สื่อ เทคโนโลยีและสภาพแวดล้อม หลักการบูรณาการ แต่ยังไม่สอดคล้องกับหลักการประเมินตามสภาพจริง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3 - 6 ปี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

นภเนตร ธรรมบวร. (2551). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผกามาศ พีธรากร. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชุมชนของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัชรี ผลโยธิน และคณะ. (2557). การทำสารนิทัศน์ในระดับปฐมวัย. กรุงเทพฯ: แฮปปี้ เลิร์นนิ่ง.

ภัทรวรรณ จันทร์เนตร์. (2559). การพัฒนาการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

เยาวพา เดชุคุปต์. (2542). การบริหารและการนิเทศการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เจ้าพระยาระบบการพิมพ์.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2553). การวัดและการประเมินแนวใหม่: เด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กอายุ 3 - 6 ปี). กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

อรุณี หรดาล. (2561). การจัดประสบการณ์ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจและสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย. นนทบุรี: ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Helm, J., Beneke, S., & Steinheimer, K. (1998). Windows on learning: Documenting young children’s work. New York: Teachers College Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024