ทุนอุดมศึกษาต่อการพัฒนาเยาวชน และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • อัคตัรมีซี อาหามะ สหสาขาการพัฒนามนุษย์และสังคม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อุ่นเรือน เล็กน้อย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ทุนอุดมศึกษา, จังหวัดชายแดนภาคใต้, เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของ “โครงการ ทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้” กับการมีส่วนในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้และความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน และเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กลุ่มประชากรเป้าหมายจำนวน 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ 1 นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการทุนอุดมศึกษาฯ ในระยะที่ 1 - 3 จำนวน 24 คน กลุ่มที่ 2 บุคลากรที่มีส่วนในการดำเนินงานโครงการการทุนอุดมศึกษาฯ จำนวน 4 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงบรรยายและ การวิเคราะห์เชิงบริบทของเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1) การดำเนินงานโครงการทุนอุดมศึกษาฯ ได้ส่งผลให้เยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่สามารถเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ที่มีคุณสมบัติตามที่โครงการฯ กำหนด ได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมาย การดำเนินงานโครงการทุนฯ 2) นักศึกษาที่ได้รับทุนหลังจากสำเร็จการศึกษาได้มีโอกาส ในการประกอบอาชีพตามศักยภาพของตนเองที่มีส่วนกับการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในทางตรง และทางอ้อมในมิติด้านการศึกษา ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และการส่งเสริมภาพลักษณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมในระดับภูมิภาคต่าง ๆ และ 3) บทบาทการประกอบอาชีพของนักศึกษาทุนสอดคล้องและมีส่วนในการหนุนเสริมการดำเนินงานของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ที่เชื่อมโยงสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

References

กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน. (2565). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ ชายแดน. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://osmsouth-border.go.th/news_develop (2566, 15 เมษายน).

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2557). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 12 เรื่องที่ 2 การศึกษา. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://kanchanapisek.or.th (2565, 26 ธันวาคม).

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). รวมบทความการวิจัย การวัดและประเมินผล. กรุงเทพฯ: ภาควิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ยุพดี ชัยสุขสันต์ และคณะ. (2557). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ ระยะที่ 1 ปีการศึกษา 2550-2554. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์. (2553). การประเมินโครงการ: แนวคิดและแนวปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี. (2555. 9 เดือนของปีที่ 9: ในสถานการณ์ความรุนแรงอันยอกย้อน กระบวนการ สันติภาพปาตานียังคงก้าวเดินไปข้างหน้า. สืบค้นจาก https://deepsouthwatch.org/th/node/3670. (2565, 20 ธันวาคม)

ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี. (2556). ข่าวเด่น : การสัมมนาเรื่องแนวทางการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้. สืบค้นจาก https://thaiembassy.org. (2565, 26 ธันวาคม)

ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2554). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี 2554. สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการศึกษาที่ 12 จังหวัดยะลา.

ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้. (2565). ฐานข้อมูลศูนย์เฝ้าระวังชายแดนใต้. สืบค้นจาก https://deepsouthwatch.org/ (2565, 26 ธันวาคม)

ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน.(2559).ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ SDGs. สืบค้นจาก https://www.sdgmove.com/intro-to-sdgs/ (2566, 30 กันยายน)

สมปอง จันทคง. (2552). การจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. สืบค้นจาก https://www.kroobannok.com/24541 (2564, 20 ธันวาคม)

เสริมศักดิ์ วิศาลภรณ์. (2551). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้. สำนักวิจัยและ พัฒนาการศึกษา. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ: หจก.วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.

เสริมศักดิ์ วิศาลภรณ์. (2554). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้. สำนักวิจัยและ พัฒนาการศึกษา. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ: หจก.วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.

สุวิมล ติรกานันท์. (2548). การประเมินผลโครงการ: แนวทางสู่ปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2556). รายงานผลการดำเนินงานโครงการทุนการศึกษา เฉลิมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (ปีการศึกษา 2555). กรุงเทพฯ: สำนักงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2556). นโยบายรัฐบาลที่เกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ ปี 2540 – ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สืบค้นจาก http://www.parliament.go.th/library (2564, 30 มิถุนายน)

สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2566). โครงการสนับสนุนทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในประเทศให้แก่เยาวชนที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ 4). สืบค้นจาก https://resolution.soc.go.th/?prep_id=408496 (2564, 30 มิถุนายน)

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548) .แผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างสันติสุข ปี 2548-2551. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟิก.

สำนักงบประมาณ (2563) งบประมาณในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้. กองยุทธศาสตร์ การงบประมาณ สืบค้นจาก https://www.bb.go.th/index.php (2564, 30 มิถุนายน)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024