การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับแอปพลิเคชัน Photomath
คำสำคัญ:
สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว, การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI , แอปพลิเคชัน Photomath, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, พฤติกรรมการทำงานกลุ่มบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้น ตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับแอปพลิเคชัน Photomath และ 2) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนในการ จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับแอปพลิเคชัน Photomath กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานครเขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียนซึ่งมีนักเรียน 23 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย จากกลุ่มโรงเรียนมัธยมขนาดเล็กเหมือนกัน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับ แอปพลิเคชัน Photomath เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 12 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เป็นแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 15 ข้อ ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.87 และแบบทดสอบแบบอัตนัย จำนวน 3 ข้อ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 และ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (Paired Sample t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว หลังการจัด การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับแอปพลิเคชัน Photomath สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียน พบว่า มีพฤติกรรมการทำงานกลุ่มคิดเป็นร้อยละ 83.81 อยู่ในระดับสูง
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกริกเกียรติ แสงวิทยาประทีป. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้เรื่องเรขาคณิตวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TAI. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
จุฑารัตน์ บุญชูวงค์. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวโดยใช้แอปพลิเคชัน Photomath สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัฐวัฒน์ หอมรื่น. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวโดยใช้วิธีบาร์โมเดล ร่วมกับแอปพลิเคชัน Photomath สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). “ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2562”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.niets.or.th. (2563, 10 พฤษภาคม).
สมบัติ การจนารักพงษ.์ (2547). 29 เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย การเรียนแบบร่วมมือ. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี.
สุขสันต์ ดุลชาติ. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกทักษะแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Hartono, S. (2019). Using Photomath Learning to Teach 21st Century Mathematics Skills: a Case Study in Two-Variable Linear Equation Problem. International Conference on Education and Regional Development IV. 296-301.
Jupri, A., & Sispiyati, R. (2020). Students’ algebraic proficiency from the perspective of symbol sense. Indonesian Journal of Science and Technology. 5(1), 86-94.
Nurhayati, N. (2020). An Analysis Conceptual Understanding and Student’s Learning Self-Reliance in the New Normal Era Assisted by Photomath on SLETV Material. Advances in Social Science, Education and Humanities Research, volume 550.Proceedings of the 1st International Conference on Mathematics and Mathematics Education (ICMMED 2020). 157-161.
Slavin, R. E. (1990). Cooperative Learning. Theory Research, and Practice. Engle wood Cliffs. New jersey: Prentice - Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ธนพล ดวงเงิน , สมวงษ์ แปลงประสพโชค, กฤษณะ โสขุมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์