การพัฒนากิจกรรมแนะแนวโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโต ที่ส่งเสริมการรู้จักและเข้าใจตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
กิจกรรมแนะแนว, กรอบความคิดแบบเติบโต, การรู้จักและเข้าใจตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพของการพัฒนากิจกรรมแนะแนวโดยใช้ กรอบแนวคิดแบบเติบโตที่ส่งเสริมการรู้จักและเข้าใจตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เปรียบเทียบการรู้จักและเข้าใจตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังใช้กิจกรรมแนะแนวโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตที่ส่งเสริมการรู้จักและเข้าใจตนเอง กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนประชาธิปัตย์วิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 39 คน ซึ่งได้มา โดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแผนการจัดกิจกรรมแนะแนว จำนวน 9 แผน ซึ่งออกแบบโดยใช้รูปแบบการสอนเชิงประสบการณ์เน้นการสะท้อนคิดและนำกรอบความคิด แบบเติบโตมาสอดแทรกเพื่อกระตุ้นให้กลุ่มตัวอย่างมีความกระตือรือร้นในการเรียน สนุกกับการแก้ปัญหา เรียนรู้และพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ที่ท้าทาย และมั่นใจในการค้นหาความถนัดและความสามารถของตนและแบบวัดการรู้จักและเข้าใจตนเอง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว
ผลการวิจัย พบว่า
1. คุณภาพของการพัฒนากิจกรรมแนะแนวโดยใช้กรอบแนวคิดแบบเติบโตที่ส่งเสริม การรู้จักและเข้าใจตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ที่สอดแทรกแนวคิดของกรอบความคิดแบบเติบโตในแผนกิจกรรมแนะแนว ในการพัฒนากิจกรรมดังกล่าวมีความเหมาะสมในระดับดีมาก (M= 4.85, S.D. = 0.08)
2. การรู้จักและเข้าใจตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตสูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แผนพัฒนาการแนะแนวและแผนกิจกรรมแนะแนว ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ.2551-2565).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). มาตรฐานการแนะแนว. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จิรภัทร์ ธิปัญญา. (2563). ผลการใช้กิจกรรรมแนะแนวตามกลวิธีเมตาคอกนิชันเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ ความสามารถของตนเองและทักษะการตัดสินใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชุติมา สุรเศรษฐ. (2557). “หน่วยที่ 3 กิจกรรมและเครื่องมือแนะแนวเพื่อการรู้จักตนเอง” กิจกรรมและเครื่องมือแนะแนว. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, วุฒิชัย เนียมเทศ, และณัฐวิทย์ พจนตันติ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 3(2): 208-222.
มุทิตา อดทน. (2561). ผลของโปรแกรมการพัฒนากรอบความคิดเติบโตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สุวีริยาสาส์.
วิไลวรรณ เพชรเศรษฐ์. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนขจรเกียรติศึกษา จังหวัดภูเก็ต. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน. (2562). รู้จักตัวเอง’ ทักษะดีที่เด็กพึงมี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:https://mgronline.com/qol/detail/9620000082394
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและศูนย์จิตวิทยาการศึกษา มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2560). อัจฉริยะหรือพรสวรรค์ ไม่สำคัญ..เท่า Growth Mindset.
อัญชลี ภัทรโอภาส. (2563). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Blackwell, L. A., Trzesniewski, K. H., & Dweck, C. S. (2007). Theories of intelligence and achievement across the junior high school transition: A longitudinal study and an intervention. Child Development. 78(1): 246-263.
Dweck, C. S. (2006). Mindset: The new psychology of success. Random House.
Dweck, C. S. (2012). Mindset: How you can fulfill your potential. Constable & Robinson Limited.
Zarrinabadi, N., Rezazadeh, M., Karimi, M., & Lou, N. (2021). Why do growth mindsets make you feel better about learning and your selves? The mediating role of adaptability. Innovation in Language Learning and Teaching, 1-16.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ปิยะภรณ์ พันธุวิทย์, สุวรรณา จุ้ยทอง, สมบัติ คชสิทธิ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์