การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, การเรียนรู้แบบผสมผสาน, การเรียนรู้เชิงรุก, ชนิดของคำในภาษาไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาชุดกิจกรรม การเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 จังหวัดปทุมธานี ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาดัชนีประสิทธิผลชุดกิจกรรม การเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 จังหวัดปทุมธานี และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดปทุมธานี ประชากรที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวันครู 2502 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ทั้งหมด 30 คน อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยใช้วิธีการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องชนิดของคำ จำนวน 7 แผนการจัดการเรียนรู้ ทั้งฉบับมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 2) ใบความรู้และแบบฝึกหัด เรื่องชนิดของคำ ทั้งฉบับมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องชนิดของคำ ทั้งฉบับได้ค่า IOC เท่ากับ 1.00 มีค่าความยากง่าย อยู่ระหว่าง 0.23 - 0.80 ค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ 0.20-0.55 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.76 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องชนิดของคำ มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมในระดับมาก สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าดัชนีประสิทธิผล
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับ การเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดปทุมธานี มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.95/81.12 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลชุดกิจกรรม การเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 จังหวัดปทุมธานี มีค่าเท่ากับ 0.7143 หรือคิดเป็นร้อยละ 71.43 และ 3) ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (M = 4.49, S. D. = 0.52) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นของผู้เรียนอยู่ในระดับมากที่สุดคือ ด้านการวัดและประเมินผล (M = 4.64, S.D. = 0.50) รองลงมาได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก (M = 4.51, S.D. = 0.52) ด้านเนื้อหา เรื่อง ชนิดของคำ (M = 4.42, S.D. = 0.50) และด้านครูผู้สอน (M = 4.37, S.D. = 0.55) ตามลำดับ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). หนังสืออุเทศภาษาไทย ชุดบรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 3: ชนิดของคำ วลี ประโยคและสัมพันธสาร. กรุงเทพฯ: สกสค.ลาดพร้าว.

กำชัย ทองหล่อ. (2556). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

ฐิติกานต์ แก้ววิเศษ. (2565). การพัฒนาแนวการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยแบบเชิงรุกโดยใช้วรรณคดีเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 17(23): 67-80.

ทักษพร แจ่มศรี และอ้อมจิต แป้นศรี. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ตามรูปแบบการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ร่วมกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 16(2): 103-116.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2561). เทคนิคการวิจัยเพื่อการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์ จำกัด.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2554). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานแทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: สกสค.ลาดพร้าว.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.

สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม และกันต์ฤทัย คลังพหล. (2565). การพัฒนาชุดการเรียนรู้เสริมทักษะการเขียนสะกดคำด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 22(3): 335-348.

สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม และนวลอนงค์ ทองเสริม. (2566). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีสื่อประสมร่วมกับการสอนในระบบ Vertual School เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 23(3): 71-83.

อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2546). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Allen, E. & Seaman, J. (2007). Growing by Degrees: Online education in the United States, The Sloan Consortium. [Online], Available: http://www.sloan-c.org/publications/survey/pdf/growing_by_degrees.pdf. (2021, 10 May)

Anderson, L. W. & Krathwolh, D. R. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing: A Revision of Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives. Boston: Allyn & Bacon.

Likert, R. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw Hill.

Means, T. et al. (2022). OLC Blended Learning Symposium 2022 Report. Online Learning Consortium.

Pulham, E. B., & Graham, C. R. (2018). Comparing K-12 online and blended teaching competencies: A literature review. Distance Education. 39(3), 411-432. https://doi.org/10.1080/01587919.2018.1476840

Staker, H., & Horn, M. B. (2012). Classifying K-12 blended learning. Infosight Institute.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-07-2024